Nubia Z11 mini เป็นสมาร์ทรุ่นเล็กหากเทียบจากราคา 6,990 บาท แต่สเปคอยู่ในระดับสมาร์ทโฟนช่วงราคาหมื่นกว่าบาท RAM 3 GB, ROM 32 GB รองรับสองซิมและแบ่งหน้าจอได้ ทำให้เป็นที่จับตามองและถามถึงใน Pantip และ Facebook อย่างกว้างขวาง ซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวกันหลังจากก่อนหน้าได้ รีวิว – Nubia Z11 “สเปคแรงระดับตัว TOP ทำไมต้องจ่ายแพง” ไปเรียบร้อยแล้ว

Nubia Z11 mini
Nubia Z11 mini

Nubia Z11 mini

ขอเกริ่นก่อนว่า Nubia เป็นบริษัทลูกที่แยกออกมาจาก ZTE โดยมีการพัฒนาสมาร์ทโฟนอย่างอิสระ รวมถึงการบริหารที่คล่องตัวกว่า และไม่ใช่ยี่ห้อไก่กาอะไรเพราะมีสิทธิบัตรกว่า 60,000 รายการ สะท้อนให้เห็นว่าเขาเองก็จริงจังกับธุรกิจนี้เช่นเดียวกัน ต่างจากบางยี่ห้อที่เน้นจ้างโรงงานอื่นผลิตแล้วตีตรายี่ห้อตัวเอง โดยไร้ซึ่งเทคโนโลยี, นวัตกรรม, และสิทธิบัตรของตัวเอง

nubia-z11-mini-2

สเปค และรายละเอียด

Nubia Z11 mini มีขายเพียงแค่โมเดลเดียวคือ RAM 3 GB, ROM 32 GB ซึ่งไม่ธรรมดาเลยหากเทียบกับค่าตัว

  • ระบบปฎิบัติการ Android 5.1.1 (ครอบทับด้วย nubia UI 3.9.6 + NeoVision 5.8)
  • หน้าจอ 5″ IPS-NEO ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล
  • กระจก Gorilla Glass 3 ความโค้ง 2.5D
  • หน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 617 MSM8952
  • แรม 3 GB
  • ความจุ 32 GB รองรับ microSD สูงสุด 200 GB
  • กล้องหลัง 16 MP f/2.0 เซ็นเซอร์ IMX298
  • กล้องหน้า 8 MP f/2.4
  • รองรับสองซิม 4G LTE หรือเลือก microSD
  • รองรับสแกนลายลายนิ้วมือ
  • แบตเตอรี่ 2,800 mAh
  • ขนาด 141.4 x 70 x 8 มม.
  • น้ำหนัก 138 กรัม
  • ราคา 6,990 บาท

ตัวเครื่องมีสีขาวและดำ (ส่วนตัวแนะนำสีขาวน่าจะสวยกว่า) สั่งซื้อได้ที่ http://store.nubia.com/th/buy/Z11mini

nubia-z11-mini-3

nubia UI

การปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของ nubia UI (ถึงแม้เวอร์ชันรุ่นจะต่ำกว่า Nubia Z11 ก็ตามที) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้แตกต่างจาก Android ทั่วไปโดยมีการพัฒนาและออกแบบมากกว่า 1,000 ครั้ง จนกระทั่งได้อินเตอร์เฟซใหม่ล่าสุดนี้

  • Super Screenshot : จับภาพหน้าจอแบบยาว (เช่น หน้าเว็บไซต์), บันทึกหน้าจอเป็นวิดีโอ
  • Edge Gesture : รูดขอบหน้าจอ (ทั้งซ้ายและขวา) เพื่อใช้งานคีย์ลัด

จุดเด่นคือนอกจากจะใช้งานง่ายคล้าย iOS ยังสามารถจับภาพหน้าจอหลายแบบนี้, มีลูกเล่นขอบข้างหน้าจอ, รวมถึงการจำกัดกิจกรรมของแอปพลิเคชันพื้นหลัง และลดการบริโภคพลังงานลงอีกด้วย

nubia-z11-mini-4

ด้านหลังเป็นที่สแกนหลายนิ้วมือ ซึ่งเมื่อเราวางมือจะพอดีกับนิ้วชี้ ส่วนความเร็วที่ได้ค่อนข้างจะพึงพอใจ (ประมาณ 0.5 วินาที) และตรงนี้สามารถตั้งค่าไว้เพื่อจับหน้าจอได้ด้วย แต่ก็แนะนำเท่าไหร่นักเพราะใช้งานจริงมักจะเผลอไปโดนอยู่บ่อย ๆ

สีดำที่ได้มาเป็นแบบดำเงา ข้อเสีย ก็คือเป็นรอยนิ้วมือง่ายไปนิด หากใครกังวลแนะนำให้เลือกสีขาวแทน แต่หากใครชอบอารมณ์ Jet Black ก็แนะนำสีดำเลยเพราะสีมันเหมือนกับของ iPhone 7 ยังไงยังงั้นเลยครับ (ไม่ต้องจ่ายแพงด้วย)

nubia-z11-mini-5

เนื่องด้วยสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เป็น USB-C กันเกือบหมดแล้ว ตามแนวทางการพัฒนาของ Google และเครื่องนี้ถึงแม้จะเป็นรุ่นราคาถูกก็ได้เป็น USB-C ไม่ต่างกัน บางคนอาจมองเป็นข้อเสียเรื่องอุปกรณ์ แต่เชื่อเถอะว่าภายใน 1-2 ปีนี้ Micro USB จะเป็นเรื่องล้าหลังไม่ต่างจาก Mini USB ในอดีตกาล

nubia-z11-mini-6

ปุ่มปรับเสียงและปุ่มล็อคเครื่องอยู่ด้านขวา

nubia-z11-mini-7

ด้านบนเป็นช่องเสียบหูฟังและไมค์

nubia-z11-mini-8

ช่องใส่ซิมจะอยู่ด้านซ้ายรองรับสองซิมหรือเลือกเป็นเพิ่มเมมก็ได้

nubia-z11-mini-9

วัสดุและงานประกอบ

แทบไม่น่าเชื่อว่าจะราคา 6,990 บาท งานประกอบดูดีมาก ถือแล้วดูมีราคาเทียบชั้นกับสมาร์ทโฟนราคาหลักหมื่น ด้านข้างเป็นอลูมิเนียมเพิ่มความแข็งแกร่ง ส่วนหน้าจออาจดูเล็กไปนิด (บางคนก็ชอบเท่านี้) มีความคมชัดสู้แสงได้เป็นอย่างดี สีสันสดใส 95% NTSC ภายใต้ความละเอียด 1080P 441 PPI ทำให้เวลาแบ่งสองจอแล้วยังเก็บรายละเอียดได้อยู่

nubia-z11-mini-10

ส่วนตัวชอบด้านหลังที่กล้องไม่นูนออกมา ซึ่งคุณภาพกล้องก็ไม่ธรรมดา ด้วยการใช้เซ็นเซอร์ที่แยกออกในส่วนของพิกเซล DTI (Deep Trench Isolation) ช่วยลดภาพรบกวน (Noise) แม้ถ่ายในที่แสงน้อย

  • รูรับแสงแบบมัลติ
  • เส้นโค้งโคจร
  • รูรับแสงอิเลคโทรนิกส์
  • ชัตเตอร์แบบช้า
  • ถ่ายภาพดาว
  • ตัดต่อวิดีโอ
  • บันทึกภาพแบบ DNG
  • บันทึกภาพซ้อน Clone Camera

ด้านบนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟีเจอร์กล้องของ Nubia Z11 mini ที่ใส่มาแบบไม่หวงว่าจะขายรุ่น TOP ไม่ออก ต่างจากแบรนด์อื่นที่มักจะ “กั๊ก” สเปคไว้ไม่ใส่ในรุ่นราคาถูก อันนี้ได้ใจไปเต็ม ๆ เลยครับ

nubia-z11-mini-11

กล้องหลังความละเอียด 16 MP F/2.0 มีการใช้เซ็นเซอร์ถ่ายภาพของ SONY IMX298 CMOS แบบเดียวกับรุ่นแพง ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 8 MP F/2.4 ทั้งสองผนวกเข้ากับเทคโนโลยี NeoVision 5.8 เพิ่มความเร็วทั้งการเปิดกล้องและโฟกัสให้เร็วขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน

nubia-z11-mini-12

ทดสอบใช้งานจริง

ถึงแม้ว่าราคาจะถูกแต่สเปคก็ไม่ได้ถูกตาม หัวใจของสมาร์ทโฟนก็คือ CPU ซึ่งบางแบรนด์นิยมลดต้นทุน ด้วยการใช้หน่วยประมวลผลราคาถูก แต่รุ่นนี้ได้ถึง Snapdragon 617 Octa-core ที่ทำงานได้อย่างลื่นไหล แถมยังรองรับโมเด็ม X8 LTE ความเร็วสูงสุด 300 Mbps อีกทั้งยังใช้ VoLTE (การสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่าย 4G) ถ้าหากเครือข่ายรองรับ

RAM 3 GB เหมือนออกแบบมาเพื่อการแบ่งสองหน้าจอยังไงยังงั้น ใช้งานได้อย่างลื่นไม่มีสะดุด นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ ROM 32 GB หน่วยความจำเครื่องขนาดใหญ่สะใจ แต่ถ้าหากยังไม่จุใจก็เพิ่ม microSD แทนการใช้งานซิมที่สองก็ยังได้ครับ ซึ่งอันที่จริงแนะนำให้ใส่ซิมที่สองเป็นซิมเติมเงินถูก ๆ เอาไว้เล่นเน็ตจะคุ้มกว่า

nubia-z11-mini-13

แบตเตอรี่ในตัวเครื่องใส่มา 2,800 mAh แต่แอบเสียดายที่ไม่รองรับ Fast Charge ส่วนการใช้งานจริงสามารถใช้งานได้ประมาณ 8 ชั่วโมง (เลิกงานพอดี) แต่ถึงอย่างไรก็ควรมีแบตเตอรี่สำรองไว้เผื่อฉุกเฉินสักหน่อย

screenshots_nubia-z11-mini-1

ระบบปฎิบัติการ และฟีเจอร์

ระบบปฏิบัติการ Android 5.1.1 ถึงแม้จะไม่ใช่ Marshmallow แต่ก็สัมผัสไม่ได้ถึงความแตกต่างเวลาใช้งาน เพราะถูกครอบด้วย nubia UI 3.9.6 อีกทีหนึ่ง การตอบสนองของอินเตอร์เฟซค่อนข้างดีมาก Bloatware ที่ฝังมากับเครื่องก็มีน้อยมากลบออกได้สบาย

screenshots_nubia-z11-mini-2

UI + UX หน้าตาสวยงามกว่า Pure Android สามารถสลับแอปพลิเคชัน และเข้าถึงการตั้งค่าได้โดยง่ายดาย ไม่กินทรัพยากรของเครื่อง หากใครเคยใช้ MIUI มาก่อนก็น่าจะชอบ nubia UI เช่นกัน

screenshots_nubia-z11-mini-3

ขอบหน้าจอสามารถปรับแต่ง Edge Gesture ให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น (หรือไม่ก็งงกว่าเดิม) ความแปลกอันนี้ชอบเป็นการส่วนตัวเพราะไม่ซ้ำใคร ช่วงแรกอาจงงหน่อยแนะนำให้ค่อยปรับทีละฟีเจอร์

screenshots_nubia-z11-mini-4

พระเอกของเรามาแล้ว แบ่งสองหน้าจอ ความสามารถชั้นสูงบน Android ที่น้อยแบรนด์จะทำได้ (และน้อยแบรนด์ที่จะทำได้ดี) อันนี้ให้ 10 คะแนนเต็ม เพราะใช้งานง่ายและใช้ได้จริงโดยไม่ปวดหัวมากนั้น แอปพลิเคชันทั้งหมดต่างทำงานอย่างอิสระ แถมยังปรับสัดส่วนขนาดหน้าจอได้ว่าจะให้ทำงานบนขนาดจอที่เหลืออยู่จริง หรือจะตรึงแนวระยะเดิม

screenshots_nubia-z11-mini-5

ทดสอบประสิทธิภาพผ่านแอปพลิเคชัน AnTuTu ได้ไป 44,206 คะแนน ทำได้ไม่เลวเลยทีเดียวกับสมาร์ทราคาเท่านี้ เพียงแต่ว่าหากเทียบกับตัว TOP ในอดีตบางรุ่นยังแพ้อยู่พอสมควร แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ต้องเศร้าไปเพราะว่าคะแนนเท่านี้ก็เหลือเฟือสำหรับการใช้งานทั่วไป รวมถึงการเล่นเกมในปัจจุบัน (CPU บางรุ่นแรงแต่ไม่ใช่ตัวพิมพ์นิยมอย่าง Snapdragon ใช้แล้วกระตุกก็มี)

screenshots_nubia-z11-mini-6

กล้องและฟีเจอร์

NeoVision 5.8 ช่วยให้สามารถเปิดกล้องได้อย่างรวดเร็ว สามารถเลือกโหมดธรรมหรือโปรได้ ปรับความเร็วชัตเตอร์ ได้ตั้งแต่ 1/60000 ไปจนถึง 2 วินาที รวมถึงค่า ISO และความยาวโฟกัส ส่วนลูกเล่นของกล้องก็มีมากมายในเลือกสรรค์ เช่น วาดแสง, ชัตเตอร์ช้า, วิถีเคลื่อนไหว, ฯลฯ

Photos taken with Nubia Z11 mini

ตัวอย่างภาพต้นฉบับสามารถคลิกไปดูได้ที่ Imgur โดยทั้งหมดที่ผมถ่ายเปิดโหมด Auto ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันไป สามารถโฟกัสได้เป็นอย่างดี ในสภาวะแสงน้อยอาจมีการชดเชยแสงที่ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย

ข้อดี

  1. สเปคที่ได้เกินราคาไปมาก
  2. รองรับการแบ่งหน้าจอ
  3. ลูกเล่นกล้องมีเยอะ

ข้อเสีย

  1. ไม่แถมหูฟังในกล่อง
  2. เวอร์ชันระบบปฏิบัติการเก่าไปนิด

สรุป

ราคาที่จ่ายไปถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้มา ตัวเครื่องงานประกอบดีเยี่ยม มีสเปคที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป แถมยังรองรับสองซิม ถึงแม้ว่าจะสู้เรือธงไม่ได้แต่ลูกเล่นที่ให้มาก็เยอะพอสมควร ในส่วนช่วงราคาไม่เกินหมื่น Nubia Z11 mini น่าจะกินขาดในเกือบทุกแบรนด์

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial