ปัญหาของหลายคนที่เชื่อว่าเกือบทุกคนเลยแหล่ะ สำหรับการที่อินเทอร์เน็ต (Internet) ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในองค์กรหรือจะตามบ้านก็ตาม สาเหตุสำคัญอีกอย่างที่หลายคนมักจะมองข้ามไปเลยก็คือเรื่อง “สายสัญญาณ” สิ่งนี้แหล่ะคือสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรบกวนของสัญญาณ หรือประสิทธิภาพที่ด้อยลงจากคุณภาพก็ตาม

Thailand-Network

ประเภทของสายสัญญาณ

แท้จริงแล้วแบ่งออกเป็นหลายประเภทแต่ถ้าหากเอาใกล้ ๆ ตัวที่พอจะจับต้องแล้วใช้กันอยู่บ่อย ๆ ก็จะเป็น

  1. LAN (UTP)
  2. Optical Fiber
  3. CCTV (COAXIAL)

ยกตัวอย่างภาพที่อยู่ด้านบนดูยุ่งเหยิงมาก ๆ แท้จริงแล้วไม่ใช่สายไฟแต่มีหลายสายประกอบเข้าด้วยกัน ที่เห็นกันขด ๆ ม้วน ๆ จะเป็น Optical Fiber เสียส่วนใหญ่ (ความรู้ใหม่สำหรับผมเลย)

Interlink communication Public Company Limited

ก่อนอื่นเลยขอขอบคุณ บริษัท อินเตอร์ลิงค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มาร่วมให้ข้อมูลประกอบบทความ รวมถึงการสนับสนุนต้อนรับทีมงานเป็นอย่างดี Interlink เป็นผู้จำหน่ายสายหลายชนิด (รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องและวางระบบ) อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งแบรนด์ที่ขายดีเป็นหลัก ๆ แล้วเราคุ้นหูกันเป็นอย่างดีก็คือแบรนด์ “LINK”

Sample-UTP

สาย LAN (UTP)

สายชนิดนี้เชื่อว่าทุกคนรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี และถึงแม้ว่าองค์กรจะเปลี่ยนไปใช้เป็น Wireless อย่างไรเสียสายชนิดนี้ก็จำเป็นต้องคงอยู่กับเราไปอีกนานแสนนาน เพราะมันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ หากให้แบ่งประเภทสายชนิดนี้อย่างคร่าว ๆ ก็คงเป็น

  • CAT 5E ตามมาตรฐานทดสอบกันที่ความถี่ 100 MHz แต่ของ LINK รองรับ 350 MHz
  • CAT 6 ตามมาตรฐานทดสอบกันที่ความถี่ 250 MHz แต่ของ LINK รองรับ 600 MHz
  • CAT 6A ตามมาตรฐานทดสอบกันที่ความถี่ 500 MHz แต่ของ LINK รองรับ 750MHz

หากมองเผิน ๆ หลายคนคงคิดว่าไม่ต่างกัน แต่สายคุณภาพจาก LINK ได้พิสูจน์ให้ทีมงานเห็นแล้วว่ากระบวนการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีและขั้นตอนต่างเป็นอะไรที่ลึกซึ้งเหนือกว่ามาตรฐาน TIA-568-C.2 ของ CAT 5E รองรับความเร็ว 1 Gbps ทดสอบที่ความถี่ 350 MHz นอกจากนี้ยังได้มาตรฐาน RoHS รวมถึง UL จากสหรัฐอเมริกา

ส่วน CAT 6 นอกจากจะทดสอบด้วยความถี่ 600 MHz และได้มาตรฐานการรับรองเหมือน CAT 5E ทุกประการ แล้วยังมีทองแดงแท้ขนาด 23 AWG ใหญ่กว่าทั่วไปรวมถึง Cross Filler เพื่อแยกสายออกจากกันและลดทอนสัญญาณรบกวน

UTP-Network

การเลือกสาย LAN (UTP) ก็เหมือนกับการปูถนนบางครั้งเทคโนโลยีที่เราใช้อาจจะไม่ถึง แต่ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีถนนที่ใหญ่กว่าเพื่อรองรับ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ต้องสื่อสารกันด้วยความเร็วสูงมากขึ้น จนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไปรบกวนคู่สายสัญญาณอื่น ๆ ในเส้นเดียวกัน ทางแก้ปัญหาก็ไม่ยากเพียงแค่เพิ่ม Foil หรือไม่ก็ใช้ PVC Slot รอบสายสัญญาณแบบ CAT 6A ซึ่งข้อเสียก็คืออาจทำให้ต้นทุนสูงกว่า แต่อย่างที่บอกก็คือเป็นการวางระบบเพื่ออนาคต

ส่วนตัว Office ของผมเองเคยมีเรื่องปวดหัวเกี่ยวกับการวางระบบสาย LAN (UTP) เหมือนกัน เพราะไปจ้างช่างไฟค่าแรงถูกมาเดินให้ ผลคือช่างเอาสายไปวางอยู่เส้นเดียวกับสายไฟ แรก ๆ ก็เหมือนไม่ค่อยมีอะไรแต่พอใช้งานกับจำนวนเครื่องที่เยอะขึ้นสัมผัสได้ถึงความเร็วที่ลดลงและปัญหาที่มากขึ้น จนกระทั่งไปจ้างบริษัทวางระบบจริง ๆ มาเดินสายปัญหาทุกอย่างหายไปสนิทเลย เป็นเรื่องเล็กที่ทุกคนมองข้ามกันจริง ๆ แต่ที่ตลกคือค่ารื้อแก้งานใหม่มันยุ่งยากกว่าเดิมมาก

Sample-Fiber Optic

สาย Optical Fiber

หรือที่คนรู้จักกันในชื่อไทยอย่าง “เส้นใยแก้วนำแสง” ประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวนำแสง โครงสร้างของเส้นใยแสงประกอบด้วยส่วนที่แสงเดินทางผ่านเรียกว่า CORE และส่วนที่หุ้ม CORE อยู่เรียกว่า CLADDING ทั้ง CORE และ CLADDING เป็น DIELECTRIC ใส 2 ชนิด (DIELECTRIC หมายถึงสารที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น แก้ว พลาสติก) ซึ่งรายละเอียดเชิงลึกผมคงไม่พูดถึงดีกว่า เพราะคนรู้ก็คงรู้แล้วส่วนคนไม่รู้อ่านไปก็คงยิ่งไม่เข้าใจ

ข้อดีก็คือเป็นสายสัญญาณความเร็วสูงไม่ถูกรบกวนหรือดูดซึม และเป็นอิสระจากการมอดูเลตทางความถี่แถมยังมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ซึ่งสเปคหลัก ๆ ก็จะแบ่งเป็น Indoor และ Outdoor ตามการใช้งานรวมถึงสเปคพิเศษที่มีเกราะมาหุ้มเพื่อความแข็งแรง และป้องกันพวกสัตว์อย่างกระรอกหรือหนูมาแทะอะไรพวกนี้อีกด้วย

Fiber Optic-Network

สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับสายมีค่อนข้างเยอะครับ แต่สายชนิดนี้ผู้ใช้งานทั่วไปอาจไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสเท่าไหร่ คงต้องเป็นเรื่องของผู้รับเหมาหรือคนวางระบบมากกว่า แต่อย่างไรเสียรู้ไว้ใช่ว่าครับเวลาจะมีโครงการวางระบบอะไรแนะนำให้เชิญผู้เชียวชาญจากบริษัทเฉพาะทางนั้นจริง ๆ (ถ้านึกไม่ออกก็ลองปรึกษากับ INTERLINK ก็ได้) เพื่อที่ว่าจะไม่มีปัญหาในระยะยาว

Sample-COAXIAL

สาย CCTV (COAXIAL)

หรือที่คนรู้จักกันว่าเป็นสาย CCTV ลักษณะเป็นสายเคเบิลทองแดงชนิดหนึ่งใช้โดยผู้ให้บริการ เคเบิลทีวีระหว่างสถานีส่งกับผู้ใช้ตามบ้าน ซึ่งบางครั้งก็ถูกใช้โดยบริษัทโทรศัพท์จากสำนักงานไปยังตู้โทรศัพท์ใกล้ผู้ใช้ (Hi-Speed Internet หลายเจ้าก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้สายนี้แล้ว) และนอกจากนี้ก็ยังมีการใช้อย่างกว้างขวางในงานอื่น ๆ เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV)

จากรูปด้านล่าง จะเห็นว่า เป็นการติดตั้งใช้งานกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเราจะเห็นว่า สาย CCTV มีการติดตั้งที่หลากหลายมาก เช่น ติดตั้งในอาคาร, ในลิฟต์, แขวนไปกับเสาไฟฟ้า และแบบที่มาสายไฟฟ้าในตัว

COAXIAL-Network

ทำไมต้องเลือกของคุณภาพ? เพราะสายนี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพเนื่องจากการส่งไม่ได้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล ดังนั้นภาพที่เราได้จากกล้องวงจรปิดจะชัดหรือจะเบลอก็ขึ้นอยู่กับสายเป็นปัจจัยหลัก (ลองนึกถึงสมัยดูโทรทัศน์ด้วยหนวดกุ้ง ถ้าคุณภาพไม่ดีก็จะเป็นประมาณนั้นเลย) สำหรับสายของ LINK นอกจากจะเน้นที่คุณภาพแล้วยังมีตัวเลือกค่อนข้างหลากหลาย

  • สำหรับใช้งานนอกอาคาร (แน่นอนว่าต้องทนแดดทนฝนหน่อย)
  • สำหรับใช้งานในอาคาร (มีสีขาวและดำให้กลมกลืนกับในอาคาร)
  • สำหรับแขวนเสา (ต้องมีแกนสำหรับรับน้ำหนักและแขวน)
  • พร้อมสายไฟ (เดินเพียงเส้นเดียวสะดวกมากยิ่งขึ้น)
  • แบบหุ้มฉนวน 96% (สำหรับสถานที่มีสัญญาณรบกวนเยอะ)
  • แบบหุ้มฉนวน 60% (สำหรับสถานที่มีสัญญาณรบกวนน้อย)
  • สำหรับใช้ในลิฟต์ (ต้องทนต่อการม้วนแล้วคลายให้ได้มากกว่าปกติ มีความยืดหยุ่นสูง)

จะเห็นได้ว่าจากด้านบนหลากหลายความต้องการก็แตกต่างกันออกไป สายชนิดนี้ค่อนข้างจะมีผลต่อคุณภาพโดยตรงจะใช้งานมั่ว ๆ ไม่ได้ และสายของ LINK ก็ผลิตจากโรงงานคุณภาพตามสเปคที่ระบุไว้ไม่มีเล่นลิ้นแบบฉนวนครึ่งเดียว (บางยี่ห้อเป็น) รวมถึงมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยอันนี้ LINK ซีเรียสค่อนข้างมาก

Fire-Cable

มาตรฐานสำคัญอย่างไร?

สายของ LINK ได้มาตรฐาน UL (สหรัฐอเมริกา), สถาบัน INTERTEK (สหรัฐอเมริกา) และได้มาตรฐาน RoHS จากที่ได้รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมา

พวกเหตุการณ์เวลาเกิดเพลิงไหม้เนี่ยส่วนใหญ่คนเราจะเสียชีวิตกันเพราะ “ควัน” ครับ ไม่ใช่เพราะความร้อนดังนั้นจึงมีมาตรฐานออกมาเกี่ยวกับอุปกรณ์พวกนี้ เช่น พวกสายสัญญาณต้องไม่ติดไฟ หรือติดไฟแล้วต้องไม่ลามไปสู่ห้องอื่น ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะและส่วนใหญ่เราจะมองข้ามไป ผมมองว่ามาตรฐาน UL นี้สำคัญนะอย่าได้มองข้าม

สรุป

จากที่กล่าวมาข้างต้นหลายคนคงพอเข้าใจกันบ้างแล้ว เกี่ยวกับประเภทของสายหรือลักษณะการใช้งาน ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กเลยทีเดียว หากคิดจะเริ่มวางแผนสร้างอาคารหรือสำนักงาน ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดูก่อนว่าเราจะวางระบบสายเคเบิ้ลอย่างไร เพราะงานพวกนี้แก้ทีหลังเป็นอะไรที่ลำบากมาก หากไม่รู้จะเริ่มหรือจะปรึกษาใครลองนึกถึง INTERLINK ดูก็ได้ครับ เพราะเขาเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้จริง ๆ แถมยังมีบุคลากรที่ชำนาญการและเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับ

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial