ใครบ้างจะไม่อยากมีสุขภาพที่ดีแต่ด้วยธรรมชาติของร่างกายโดยเฉพาะผู้หญิงอย่างเราๆที่ดูเหมือนโรคร้ายจะมาเยือนได้โดยง่ายจนไม่ทันตั้งตัวอยู่เสมอจึงไม่แปลกที่จะมีหลายคนกำลังอยากซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง

แต่ก่อนจะข้ามขั้นไปซื้อ ก็ควรจะต้องทำความเข้าใจกับเรื่องสุขภาพเสียก่อน เพราะการที่จะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น มันประกอบไปด้วยปัจจัยมากมายทั้งสภาวะร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมภายนอก ดังนั้น ก่อนที่จะหาซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง มาเป็นการประกันความเสี่ยงด้านสุขภาพเนี่ย ก็ควรจะต้องพิจารณาจากอะไรหลาย ๆ อย่างเสียก่อน

เรื่องสุขภาพควรรู้ ก่อนซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง

อายุและประวัติการรักษาพยาบาลของตัวเอง

ก่อนซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง อันดับแรกควรย้อนกลับไปสำรวจอายุของตัวเอง ตลอดจนประวัติการรักษาที่ผ่าน ๆ มาเสียก่อน เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำประกัน เพราะยิ่งถ้าอายุเยอะ มีความเสี่ยงมาก ประกันก็ยิ่งคุ้มครองน้อย แถมยังมีผลต่อเบี้นประกันภัยที่ต้องจ่ายอีกด้วย

ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

เพราะไลฟ์สไตล์ของคน ๆ หนึ่ง สามารถบ่งบอกได้หลายอย่างเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในก่อนซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เน้นด้านวิชาการจะมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างจากผู้หญิงที่ชอบเล่นกีฬา ความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยก็จะต่างกัน อัตราการป่วยโรคร้ายแรงเองก็ไม่เท่ากันอีกด้วย ดังนั้น เพื่อหาแผนประกันที่เหมาะสม การศึกษาไลฟ์สไตล์ของตัวเองจึงสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว

ลักษณะงานและความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพ

ลักษณะงานที่ประกอบอาชีพเองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านสุขภาพ ฉะนั้น การจะซื้อประกันโรคร้ายแรงสำหรับผู้หญิง นี่ก็คืออีกหนึ่งสิ่งที่คุณต้องรู้ เพราะถ้าอาชีพของคุณมีผลโดยตรงกับการป่วยโรคร้ายแรงในผู้หญิง มีอัตราการกระตุ้นให้เกิดโรคได้ หรือเสี่ยงสูง ประกันก็จะให้การคุ้มครองที่ต้องจ่ายในราคาที่แพงมากขึ้นไปตามลำดับนั่นเอง

3 ลำดับโรคร้ายแรงในผู้หญิง

  • โรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น
  • โรคเกี่ยวกับมดลูก สังเกตได้ด้วยอาการปวดประจำเดือนผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายบางโรค เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก ฯลฯ
  • โรคทั่วไปโดยเฉพาะในช่องท้อง เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอักเสบ เป็นต้น

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial