ทำความรู้จักกับวุ้นแปลภาษา Google Translate และ Bing Translator
ขอใช้โดราเอม่อน (ภาพจากเว็บ iconarchive.com) เป็นภาพสื่อเพราะในเรื่องการ์ตูนโดราเอม่อน
จะมีของวิเศษอยู่ชิ้นนึงคือตัววุ้นแปลภาษา (Translation konyaku/ Translation Jelly
(ほんやくコンニャク, hon’yaku-konnyaku? ขอมูลอ้างอิง : http://doraemon.mangawiki.org/translation-konjac/)
เครดิตภาพจาก http://doraemon.mangawiki.org/translation-konjac/
ในการ์ตูนโดราเอม่อนหากคุณผู้อ่านเคยอ่านมาจะมีตอนที่โดราเอม่อนเอาของวิเศษ ออกมาเพื่อใช้พูดคุยกับมนุษย์ดาวดวงอื่นนั่นก็คือวุ้นแปลภาษาที่กินแล้วก็ พูด ฟัง เข้าใจภาษาได้ทุกๆ ภาษาเลย
ซึ่งไอตัวนี้แหละมันก็เกิดความจริงใน โลกปัจจุบันผ่านผู้บริการทั้งสองคือ Google และ Microsoft แต่ก็ยังคงเป็นในลักษณะของการพิมพ์ซะมากกว่า
บทความนี้จะกล่าวถึงการใช้งานตัวแปลภาษาผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่เราๆ จะนิยมใช้บริการกับ Google Translate กันซะส่วนใหญ่แต่รู้หรือไม่ว่า ไม่ใช่มีเพียง Google Translate เท่านั้นที่ใช้งานแปลภาษาได้มาดูกันว่าจะมีตัวไหนบ้างที่สามารถใช้งานแปล ภาษาและคำได้
ในอดีตการแปลภาษาจากภาษานึงภาษาใด จำเป็นต้องเปิดดิชชั่นนารี่แล้วแปลทีล่ะตัวๆ เอามารวบรวมกันซึ่งเสียเวลาแปลนานพอสมควรรวมไปถึงต้องอาศัยทักษะทางภาษาพอ สมควร ไม่ว่าจะแปลจากไทยไปอังกฤษ หรือ ภาษาไทยไปภาษาอื่นๆ หรือจากภาษาใด ภาษาหนึ่งไปอีกภาษาก็ต้องขวนขวาย หาความรู้ทางภาษาเพิ่มเติมหรือบางคนก็ไปเรียนคอสภาษากันเลยเพื่ออัพเกรดความ รู้ของตัวเอง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปจากยุคเก่าตามที่กล่าวมาข้างตน (ขอเรียกว่ายุคมืดล่ะกันเพราะกว่าจะแปลได้แต่ล่ะทียากเย็นแสนเข็ญต้องเปิดดิกชั่นน่ารี่นั่งงมศัพท์ทีล่ะตัวๆ) และในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคสว่างสดใสปิ้งๆ ของคนเราที่มีความสะดวกสบายจากการได้รับอานิสงฆ์ของเหล่าผู้ให้บริการอย่าง Google และ Bing (Microsoft) ที่แข่งกันพัฒนาระบบเว็บสำหรับแปลภาษาต่างๆ ออกมาให้เราได้ใช้งานกัน ถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่านอกจากตัว Google Translate ที่นิยมใช้งานกันมา ก็มีของทางฝั่ง Microsoft ที่พยายามพลักดันตัวเครื่องมือ Bing Translator สำหรับใช้งานแปลภาษาต่างๆ บนเว็บ แต่ในระบบของ Bing นั้นมีข้อจำกัดเรื่องภาษาที่สามารถแปลได้ไม่มากหลากหลายเท่ากับ Google Translate ที่มีทั้งหมดถึง 71 ภาษา (Bing มีทั้งหมด 44 ภาษา จีนกลาง / ใหญ่ 2 ภาษา) ครับ ส่วนความแม่นยำกับความถูกต้องของทั้ง Google และ Bing ในการแปลจะใกล้เคียงกัน อาจจะแตกต่างในการใช้คำพอสมควรและความเร็วในการแปลหากเทียบก็พอๆ กันครับหน้าตาของ Google Translate อาจจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
การเข้าใช้งานเครื่องมือแปลภาษา
1. Google Translate
การเข้าใช้งาน Google Translate นั้นเพียงพิมพ์ในช่อง Address = http://translate.google.com ของ Web Browser จะเป็น Internet Explorer , Google Chrome , Firefox ก็แล้วแต่ และเคาะกด Enter หรือใช้วิธีพิมพ์
เข้าไปที่หน้าของ Google.com หรือ Google.co.th แล้วไปทีลากเมาส์เลื่อนไปชี้ที่เมนูด้านบนคลิกตรงคำว่า Translate ตามในภาพ
เมื่อ Web Browserเปิดหน้าของตัวเครื่องมือ Translate แล้ว เราก็ทำการบรรจงพิมพ์ข้อความลงในเพื่อให้เครื่องมือแปลภาษาทำการแปลคำ หรือ ประโยค หรือ จะก๊อปยกมาวางลงในช่องขวามือก็ได้แล้วรอสักครู่ตามภาพประกอบครับ
2. Bing Translator
หาก คุณผู้อ่านที่ไม่เคยใช้อาจจะดูไม่คุ้นหรือสับสน แต่ไม่เป็นไรให้ลองพิมพ์ คำที่ต้องการแปลลงไปใสช่องด้านซ้ายมือ แล้วรอสักครู่ตัวแปลภาษาจะทำการแปลให้เองโดยอัตโนมัติ วิธีเข้าใช้งานตัว Bing Translatorอาจจะไม่คุ้นเคย ให้คุณผู้อ่านพิมพ์หรือคลิกเข้าไปที่ http://www.bing.com/translator/ หรือถ้าหากเข้าจากหน้าหลักของ bing.com
ให้คลิกไปที่ MORE จากจะเปิดไปอีกหน้าจะมีเมนูย่อยๆ
และให้คลิกที่ Translator
เมื่อเปิดหน้า Bing Translator แล้วให้เราพิมพ์ข้อความหรือประโยคลงไปจากนั้นกดปุ่ม Translate ครับ
ถ้าสังเกตดูในภาพ จะพบว่า หน้าตาจะไม่หนีกันซึ่งไม่รู้ว่าทาง Microsoft ทำการลอก Google มารึไม่เพราะตัว Bing Translate นี้เพิ่งจะมีตามหลังของทาง Google นั่นเอง (Bing Translate ทาง Microsoft ปล่อยตัวออกมาเมื่อ 4 ปีก่อน Release Date : 3 June 2009 , http://en.wikipedia.org/wiki/Bing_Translator) หากมองผ่านๆ อาจจะดูใกล้เคียงกันในด้านหน้าตาการใช้งาน แต่ความแม่นยำของคำแปลที่ได้เมื่อเทียบกับ Google Translate แล้ว ก็ไม่ต่างกันนัก แต่อาจจะผิดเพี้ยนห่างกันราวๆ 5-10% (เอาแน่เอานอนไม่ได้หากเราลงมือเปิดดิกชั่นนารี่แล้วแปลเองหรือให้เพื่อนที่เก่งภาษาเขาแปลให้)
หากให้ผู้เขียนสรุปในความสามารถ (Feature) ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องมือแปลของ Google Translate vs Bing Translator มีอยู่ 4 อย่างคือ
1. ผลลัพท์คำแปลที่ได้ออกมาแตกต่างกันราวๆ 5-10% มีเพี้ยนบ้างหลุดบ้าง ซึ่งก็แล้วแต่ภาษาที่เราต้องการแปลด้วยครับ
2. ระบบตรวจสอบภาษาอัตโนมัติ อย่างเช่นเราใช้ภาษาไทยจะแปลเป็นภาษาอังกฤษ (English) เจ้าตัว Google Translate กับ Bing Translator จะมีเหมือนกันเป๊ะๆ คือเมื่อเราเปลี่ยนสลับภาษาจาก keyboard แล้วทำการเริ่มพิมพ์คำภาษาไทย หรือคำประโยคภาษาใดๆ ลงไปมันจะตรวจสอบให้อัตโนมัติและจะบอกตรงช่อง Select Box อย่างในภา เป็น Thai Dectect (Google Translate) หรือ ภาษาไทย Auto-Dectected (Bing Translator) ไม่ ต่างกันเลย ดังนั้นเมื่อคุณผู้อ่านเปิดหน้าเครื่องมือแปลภาษาสองตัวนี้ขึ้นมา ก็เปลี่ยนภาษาของตนเองแล้วพิมพ์ได้เลยมันจะตรวจรูปแบบภาษาให้อัตโนมัติครับ
ส่วนของ UI ที่ให้เราเลือกการตรวจสอบภาษาอัตโนมัติใน Google Translate
ส่วนของ UI ที่ให้เราเลือกการตรวจสอบภาษาอัตโนมัติใน Bing Translator
ตัวอย่างพิมพ์ประโยคภาษาไทยลงไปในช่องพิมพ์ (Text Box) ของเครื่องมือแปลภาษาทั้งสองผู้ให้บริการโดยที่เลือกเป็นการตรวจสอบคำและประโยคแบบอัตโนมัติ
หน้าตาขณะตอนแปลคำภาษาของ Google Translate
หน้าตาขณะตอนแปลคำภาษาของ Bing Translator
สังเกต ได้ว่าตัวเครื่องมือแปลภาษาทั้งสองในภาพข้างต้นจะมีการทำงานคล้ายๆ กัน หรือเหมือนกันเลยดังนั้นจึงสะดวกกับผู้ใช้ไม่ว่าผู้ใช้จะเข้าไปใช้งานของทาง Google หรือ Bing ก็ตาม
3. ข้อได้เปรียบในด้านการใช้งานตัวช่วยต่างๆ ข้อนี้ยกให้ Google Translate ไปเพราะทาง Google มีตัวสะกดคำอ่านออกเสียงมาให้ด้วย หากเราต้องการฟังการอ่านออกเสียงคำแปลที่ได้ก็ให้กดปุ่มลำโพงอยู่แถวๆ ด้านล่าง นี้คือลูกเล่นที่ Bing Translator
ไม่มีและอาจจะเป็นจุดด้อยไป แต่ในอีกแง่นึงคือคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ Feature อ่านออกเสียงนี้กันนักเนื่องจาก ถ้าใช้ตามสำนักงานอาจจะไม่มีลำโพง หรือ ไม่สะดวกที่จะหาหูฟังมาใส่ทาง Microsoft เลย อาจจะตัดออกไปหรือยังไม่ใส่อันนี้ก็เกินความรู้ในการหาของผู้เขียนล่ะครับ แต่ถ้าวิเคราะห์จริงๆ เชิงเดาเล่นๆ ก็คงตัดออกไปตามเหตุผลข้างต้นคือคนใช้ความสามารถนี้น้อยมาก
4. การแปลเว็บ Link หรือหน้า Web Page ทั้ง เว็บอันเป็นอีกหนึ่งความสามารถของเครื่องมือแปลภาษาที่หลายคนยังไม่ทราบหรือ อาจจะทราบแล้วแต่ก็อยากจะแนะนำนั่นคือเจ้าเครื่องมือแปลภาษาสองตัวนี้ที่ อยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตนั่นมีความคล้ายคลึงกันอย่างนึงคือ สามารถแปลหน้าเว็บเพจภาษาต่างๆ ได้ครับเพียงเรานำ URL หรือก๊อปปี้ ชื่อเว็บ ยกตัวอย่างเช่น เว็บของ iReview : www.ireview.in.th ไปใส่ในช่องด้านซ้ายมือไม่ว่าจะเป็น Google Translate หรือ Bing Translator แล้วคลิกปุ่ม Translate เดี๋ยวเจ้าเครื่องมือแปลภาษานี้จะเปิดหน้าเว็บเพจที่เราต้องการแปลให้เองโดยอัตโนมัติและเริ่มกระบวนการแปลภาษาให้ ผลลัพธ์ที่ได้ดูตามภาพครับ
สมมุติว่าผมต้องการอยากดูหน้าเว็บบริษัทเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยใช้เครื่องมือแปลภาษาทั้งสองตัว ผมก็เอาแค่ link http://ireview.in.th/ ไปวางและเลือกภาษาจาก Thai ให้แปลเป็น Japanese แล้วกดปุ่ม Translate โดยใช้เครื่องมือจากทั้งสองเว็บผลลัพธ์ที่ออกมาจะคล้ายๆ กันเลยครับ
ทดสอบการแปลเว็บเพจทั้งเว็บเป็นภาษาญี่ปุ่นผ่าน Google Translate
ผลลัพธ์เมื่อใช้ Google Translate แปลหน้าเว็บเพจ www.ireview.in.th
ผลที่ออกมาเราก็จะได้ภาษาที่เราต้องการให้แสดงผลตรงตามความต้องการ แต่จะถูกหลักไวยกรณ์ของเจ้าของภาษานั้นๆ
แบบเป๊ะ 100% หรือไม่ในจุดนี้จะอยู่ที่ตัว Google ทำการแปลขึ้นมาเองซึ่งส่วนใหญ่ก็ไว้ใจไม่ได้ค่อยได้นักแต่ก็เอาว่าพออ่าน เข้าใจรู้เรื่องครับ
ทดสอบการแปลเว็บเพจทั้งเว็บเป็นภาษาญี่ปุ่นผ่าน Bing Translator
ผลลัพธ์เมื่อใช้ Bing Translator แปลหน้าเว็บเพจ http://ireview.in.th/
ผลทดสอบออกมาถ้าดูในภาพ จะเห็นความต่างในการแปลชัดเจนมากในเรื่องการใช้เครื่องมือแปลสังเกตุดูตรง Link
ในรูปภาพครับว่า Google Translate และ Bing Translator ใช้คำแปลแตกต่างกัน!
สรุปบทความ
การใช้ประโยชน์ของการนำ Web Page หรือ ที่หลายๆ คนนิยมกันอีกอย่าวคือก๊อปข้อความแล้ววางมาแป๊ะใน Text Box และสั่งแปลผ่านเครื่องมือแปลภาษาเท่านี้ก็เหมือนดั่งวุ้นแปลภาษาที่จะช่วย ให้เราเข้าถึงเว็บนั้นๆ และเข้าใจภาษานั่นๆ ได้ง่ายๆ รวมไปถึงเราสามารถแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ ได้ด้วยครับตามที่ทางผู้ให้บริการทั้ง Google กับ Bing จาก Microsoft นั่นจะเอื้ออำนวยจำนวนภาษาให้ ก็ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านนำไปใช้งานกันและได้รับรู้ว่า เครื่องมือแปลภาษาในโลกอินเตอร์เน็ตไม่ใช่มีเพียงเจ้าเดียว เอาที่จริงมีอีกเจ้าแต่ไม่กล่าวถึงเนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยมและถูกลืมเลือนไปแล้ว
สำหรับบทความนี้ขอบคุณที่ติดตามอ่านสำหรับโอกาสนี้สวัสดีครับ 🙂
หากมีข้อผิดพลาดประการใดในบทความหรือติชมเสนอแนะผู้เขียนบทความนี้ติดต่อได้ทาง
E-mail : [email protected]
Twitter : @cyberwakeup
Facebook : https://www.facebook.com/ireview.in.th