Internet ช้าเป็นปัญหาโลกแตกที่ทุกคนทุกชาติต้องเผชิญ หากคุณลองค้นหาเป็นภาษาต่าง ๆ จะพบว่าทุกคนบนโลกมีปัญหาไม่ต่างจากคุณ แต่อะไรล่ะที่เป็นสาเหตุหลัก หากได้รู้ต้นเหตุที่แท้จริงแล้วคุณอาจต้องอึ้ง! เพราะส่วนหนึ่งที่ Internet ช้าเกิดจากสายที่ไม่ได้คุณภาพ
Internet ช้าเกิดจากสาย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับ ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่คาดคิดเหมือนกันว่า “สาย” จะเป็นอะไรที่สำคัญขนาดนั้น จริงอยู่ที่ว่าปัจจัยของอินเตอร์เน็ตช้ามีหลายประการ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย … ทีนี้เราจะมาดูกัน ว่าสายที่เราคิดว่าเหมือนกันนั้น มันต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นเลยขอขอบคุณ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มาร่วมให้ความรู้ประกอบบทความนี้ โดยทาง Interlink เป็นผู้จำหน่ายสายสัญญาณหลายชนิด (รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งระบบ) อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ซึ่งแบรนด์ที่ขายดีเป็นหลัก ๆ แล้วเราคุ้นหูกันเป็นอย่างดีก็คือแบรนด์ “LINK” นั่นเอง
สำหรับคนใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอาจคิดว่าสายยังไงก็ไม่เกี่ยวข้อง แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าคุณจะใช้ระบบไร้สายอย่างไร ก็ต้องมีเรื่องของสายมาเกี่ยวข้องอยู่ดี (ตามตัวอย่างภาพด้านบน) บางครั้ง 3G/4G ช้าก็ไม่ได้เกิดขึ้นจากสัญญาณไม่ดีเสมอไป เคยเป็นไหมครับ? บางครั้งสัญญาณเต็มทุกขีดอยู่ในย่านชานเมืองแท้ ๆ แต่ทำไมเน็ตถึงช้าเป็นเต่า
แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ให้บริการ เราเองคงไปทำอะไรไม่ได้ (แต่รู้ไว้ก็ใช่ว่า) ต่อไปเรามาดูองค์ประกอบของเน็ตช้ากัน ว่ามันจะเกิดจากอะไรได้บ้าง?
สาเหตุของ Internet ช้า
เมื่อเราเล่นอินเทอร์เน็ตแล้วรู้สึกว่ามันช้าหรืออืด เรามักจะไปทดสอบความเร็วกันที่ Speedtest.net เพื่อดูว่ามันช้าแค่ไหน สำหรับสาเหตุหลักก็จะมีอยู่เพียงแค่นี้
- Cable ใช้ของอะไรอยู่ มีมาตรฐานรองรับน่าเชื่อถือแค่ไหน ฯลฯ
- Service Provider ผู้ให้บริการอาจเป็นตัวเซิร์ฟเวอร์ที่เราเข้า ฯลฯ อันนี้ทำอะไรมากไม่ได้เช่นกัน
- Technician เกิดจากปัญหาทางเทคนิค เลือกใช้อุปกรณ์ผิด การติดตั้งโดยช่างที่ไม่ชำนาญการ ฯลฯ
สำหรับปัญหาเรื่อง Technician ก็สำคัญไม่แพ้กัน บางบริษัทใช้อุปกรณ์ดี วางระบบคำนวณเผื่ออนาคตมาเป็นอย่างดี เลือกผู้ให้บริการเบอร์หนึ่ง แต่มาตายน้ำตื้นตรงที่ “ช่างไม่ได้มาตรฐาน”
ซึ่งทาง Interlink เองก็มีโครงการ Cablingcontest ในการประกวดพัฒนาฝีมือช่างติดตั้ง อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขัน ทักษะฝีมือแรงงานระดับอาเซียน (World Skill Asean) อีกด้วย
สำหรับใครที่มีแผนจะสร้างบ้าน, อาคาร, โรงงานใหม่ การวางระบบเครือข่ายไปพร้อมกับแปลนก่อสร้างเลยก็สำคัญไม่แพ้กัน (เช่น LAN, Fiber Optic, CCTV) เพราะเดี๋ยวนี้คงไม่มีบ้านไหนมีแค่สายไฟแล้วจบ การวางระบบมาตั้งแต่ต้นเลยจะง่ายและประหยัดกว่าการมาเพิ่มภายหลัง
ถ้าหากคุณไม่รู้จะปรึกษาใครก็ลองติดต่อหา Interlink ได้ครับ
LAN (UTP)
หากว่ากันที่เทคโนโลยีก็มีทั้ง CAT 5E, CAT 6, CAT 6A (รายละเอียดไม่ขอเล่าเพราะมันค่อนข้างเยอะ) แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสายที่เห็นว่าเหมือนกันนั้น หลายแบรนด์ไม่ได้ผลิตตามมาตรฐาน ANSI TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยต้องผ่านการรับรองจากสถาบัน UL , intertek , 3P ,Delta และ RoHS ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับสิ่งแวดล้อม
Fiber Optic
ส่วนใหญ่เราเรียกติดปากว่า “เส้นใยแก้วนำแสง” ถึงแม้ว่าจะไม่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ และไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน แต่สาย Fiber Optic ก็แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นกันสเปคมีทั้ง Outdoor (ใช้ภายนอก), Indoor (ใช้ภายใน) และสายชนิดพิเศษ Outdoor/Indoor ที่สามารถใช้ติดตั้งภายนอกและต่อเนื่องเข้ามาถึงภายในอาคาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการติดตั้งของช่างในประเทศไทยและอาเซียน
CCTV (Coaxial)
ส่วนใหญ่เรามักรู้จักกันในนามสายกล้องวงจรปิด แต่อันที่จริงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหลายรายเริ่มหันมาใช้กันแล้ว ซึ่งเราจะเห็นว่าสาย CCTV มีการติดตั้งที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งในอาคาร, กล้องในลิฟต์ซึ่งจะใช้สายที่มีความยืดหยุ่นสูง, แขวนไปกับเสาไฟฟ้า, หรือแม้กระทั่งแบบที่มีสายไฟฟ้าในตัว
มาตรฐานอเมริกา คำว่ามาตรฐานไม่ได้บ่งบอกแค่คุณภาพของสายอย่างเดียว แต่ยังบ่งบอกกระทั่งความปลอดภัยของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน UL (สหรัฐอเมริกา), สถาบัน Intertek (สหรัฐอเมริกา) และได้มาตรฐาน RoHS ยกตัวอย่างเช่นเวลาเกิดเพลิงไหม้ ตัวสายเองต้องไม่ลามไฟหรือก่อให้เกิดควันพิษจนเป็นเหตุให้เกิดการเสียชีวิต เป็นต้น
สรุป
ตัวสายแต่ละประเภทมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่คิดว่าทุกท่านคงได้ทราบกันดีแล้วว่า “มันแตกต่าง” อย่างไรก็ตามทุกครั้งที่เลือกวางระบบทั้งที อย่าลืมใช้บริการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญและลงทุนกับอุปกรณ์สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต เชื่อผมเถอะว่าเวลาเน็ตช้าหรือเครือข่ายล่มน่ะ … มันไม่สนุกหรอก
หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial