ปีที่แล้วถือเป็นบททดสอบของเราทุกคน สำหรับบุคลากรสายครีเอทีฟ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อรูปแบบการทำงานที่ต้องมีไอเดียแปลกใหม่  เพราะผู้คนต้องเก็บตัวอยู่ในบ้าน และหลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ ทำให้หลายๆ คนพยายามหาความแปลกใหม่และเรื่องราวที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้เกิดความรู้สึกจำเจ และแรงบันดาลใจก็เริ่มถดถอย 

Creative-Trebds-2021_Adobe-Stock
บทความโดย เบรนด้า ไมลิส

ทุกๆ ปี เราได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมผู้บริโภค ประสบการณ์จากทีมครีเอทีฟของ Adobe Stock ในปีนี้ เราได้เพิ่มประเด็นที่น่าสนใจอีกหนึ่งเรื่องคือ เทรนด์เสียง (audio trends) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราหยิบยกมารายงาน เทรนด์ของปี 2564 จะพิเศษมากยิ่งขึ้น โดยจะสะท้อนวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เทรนด์ Visual ในปี 2564

ความเห็นอกเห็นใจ (Compassionate Collective)

เทรนด์นี้บอกเล่าความรู้สึกลึกๆ ของผู้คนและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน กระแสการสนับสนุนแบรนด์ที่ยึดมั่นและแสดงออกตามค่านิยมของคนหมู่มากได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ Compassionate Collective คือเทรนด์ด้าน Visual ที่แสดงออกถึงความต้องการดังกล่าว รวมถึงความต้องการที่จะ สร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ผ่านองค์กรและกลุ่มความร่วมมือต่างๆ  

เทรนด์นี้ยังครอบคลุมถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่ทำให้หลายคนมองหาหนทางที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจด้าน Visual ซึ่งเราคาดว่าจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

คลิกชมแกลเลอรี: Compassionate Collective บน Adobe Stock

สีที่ช่วยให้อารมณ์ดี (Mood-Boosting Color)

อานุภาพของสีไม่ใช่เรื่องใหม่ สีสันสว่างสดใสทำให้เรารู้สึกตื่นตัวและมีชีวิตชีวามากขึ้น ทั้งยังช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยเพิ่มพลังให้กับจิตใจ เทรนด์ Mood-Boosting Color ยังแสดงออกถึงความสุขและพลังที่แข็งแกร่งและท้าทาย โดยยังคงแฝงไว้ซึ่งความขี้เล่นและร่าเริงสดใส

คลิกชมแกลเลอรี: Mood-Boosting Color บน Adobe Stock

Comfort Zone

เราได้เห็นผู้คนเริ่มใช้บ้านเป็นศูนย์กลางในการทำงาน เรียนหนังสือ และความบันเทิง ในปี 2564 เราจะได้พบ เทรนด์ด้าน Visual ดังกล่าวในแคมเปญและงานครีเอทีฟทุกประเภท และเราเรียกเทรนด์นี้ว่า Comfort Zone เช่น แคมเปญที่แพลตพอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ร่วมมือกับครีเอเตอร์ แคมเปญแนะนำการรักษาสุขภาพและ Well-being บน Instagram นับเป็นช่องทางสำหรับการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และผ่อนคลาย

คลิกชมแกลเลอรี: Comfort Zone บน Adobe Stock

การสูดอากาศบริสุทธิ์ (Breath of Fresh Air)

การเก็บตัวอยู่กับบ้านเป็นเวลานาน ทำให้ความต้องการที่จะสัมผัสธรรมชาติและกิจกรรมนอกบ้านเพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตกลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เอเจนซี่และแบรนด์ต่างๆ จึงนำเสนอภาพที่เป็นสีเขียวในเฉดต่างๆ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความสดชื่นของธรรมชาติ แบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายและเครื่องแต่งกาย เช่น Athleta, Gap และ Old Navy มุ่งเน้นการออกกำลังกายกลางแจ้ง และมีการนำเสนอสินค้า เช่น หน้ากากอนามัย รวมถึงเทรนด์การดูแลต้นไม้ส่งผลให้ต้นไม้ขนาดเล็กกลายเป็นของแต่งบ้านที่ทุกคนต้องมี ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่จะเชื่อมโยงกับธรรมชาติของมนุษย์ 

คลิกชมแกลเลอรี: Breath of Fresh Air บน Adobe Stock

เทรนด์ Design ในปี 2564

Austere Romanticism

ศิลปะที่รวมกลิ่นอายธรรมชาติเข้ากับนิยายดราม่า Austere Romanticism เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด และมีความคล้ายคลึงกับเทรนด์ Breath of Fresh Air ในงาน Visual งานดีไซน์เหล่านี้มีกลิ่นอายของสไตล์วิคทอเรียน (Victorian) เติมแต่งด้วยความงามของธรรมชาติ พร้อมขอบที่เรียบง่าย ดูทันสมัย

Vintage Vaporwave

Vintage Vaporwave เปรียบเสมือนจดหมายรักที่ส่งทางอินเทอร์เน็ตในยุค 1990 โดยผสมผสานแนวศิลปะ Pop Art เข้ากับกราฟิกสติ๊กเกอร์แบบตัดเส้น สีพาสเทลที่สดใส จับคู่กับโทนสีกลางๆ และองค์ประกอบดีไซน์แบบ Lo-Fi ลายตารางหมากรุกและเส้นกริด การวาง tile ในภาพแบบสุ่ม ภาพการ์ตูนที่ดูทะเล้น ทำให้งานออกแบบแนวนี้ดูมีชีวิตชีวาเคลื่อนไหวได้

Back to Bauhaus

งานออกแบบสไตล์ Bauhaus ที่เน้นการนำเสนอศิลปะผ่านรูปทรงเรขาคณิตในรูปแบบที่เรียบง่ายและปราณีต ด้วยเค้าโครงที่สมดุลและกราฟิกที่สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมาและเปี่ยมด้วยพลัง เทรนด์นี้จึงพาเราย้อนกลับไปสู่องค์ประกอบพื้นฐานที่มีรูปทรงเรขาคณิตที่ดูสะอาดตา แข็งแกร่ง กลมกลืน และใช้แม่สีที่สดใส

Psych Out

เทรนด์การออกแบบ Psych Out มีรากฐานมาจากการออกแบบ Psychedelic ในยุค 1970 และ Art Nouveau โดยมีกลิ่นอายความก๋ากั่น กล้าแสดงออก และหลุดโลก มักจะประกอบด้วยรูปทรงขนาดใหญ่ รูปร่างและตัวอักษรที่โค้งมน และภาพประกอบที่ดูเหมือนภาพในจินตนาการ เติมแต่งด้วยการไล่ระดับสีที่ดูเปล่งประกาย และสีเอิร์ธโทนที่ดูแปลกตา

เทรนด์ Motion ในปี 2564

อุปกรณ์มือถือ (Handheld)

ขณะที่การแพร่ระบาดส่งผลให้มีการตัดงบประมาณและยกเลิกการถ่ายทำภาพยนตร์และงานโฆษณาต่างๆ     แบรนด์จึงตอบสนองด้วยการปรับใช้เทรนด์วิดีโอที่กำลังได้รับความนิยม นั่นคือ คอนเทนต์ที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User Generated Content – UGC) และคอนเทนต์แนว DIY ที่สร้างขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน  วิดีโอที่ถ่ายด้วยมือถือและความงามของคอนเทนต์ UGC กลายเป็นกระแส และเราจะพบเห็นเทรนด์นี้ในทุกๆ ที่ในปี 2564

การทดแทนกันของสื่อ (Media Replacement)

หมายถึงความสามารถในการใส่ภาพและวิดีโอที่ทดแทนกันได้ไว้ในโมชั่นกราฟิก ช่วยลดอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงานโมชั่นที่ซับซ้อน  ทุกวันนี้ ครีเอเตอร์บนโซเชียลมีเดีย สามารถสร้างสรรค์วิดีโอที่มีคุณภาพสูงระดับมืออาชีพ ด้วยการใส่ภาพถ่ายและวิดีโอลงไปในเทมเพลตโมชั่น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับงานโปรดักชั่น 

การไล่ระดับสี (Gradient)

การผสมผสานกันของสีสันที่สดใสจะช่วยดึงดูดความสนใจ และขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย การไล่ระดับอย่างเรียบเนียนของสีที่หลากหลายได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในแคมเปญของแบรนด์ รวมถึงการออกแบบอัตลักษณ์ของแบรนด์ 

เทรนด์ Audio หรือเสียงในปี 2564

จังหวะเสียงเพลงแบบสากล (Global Rhythms)

ทุกวันนี้ ผู้ฟังคาดหวังว่าประเด็นเรื่องความหลากหลายและการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มที่ปรากฏในงาน Visual จะเข้ามาอยู่ในเสียงดนตรีที่อยู่ในวิดีโอเช่นเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้ นักตัดต่อวิดีโอและโปรดิวเซอร์จึงพยายามมองหาแทร็คเพลงที่จะช่วยสร้างความรู้สึกที่ทันสมัยและเป็นสากลให้กับคอนเทนต์ที่ใช้โปรโมตแบรนด์

พอดแทร็ค (Pod Tracks)

ผู้ใช้หลายล้านคนรับฟังพอดคาสต์อยู่เป็นประจำ ส่งผลให้การเผยแพร่พอดคาสต์กลายเป็นกระแสหลัก และสิ่งที่ตามมาก็คือ นักตัดต่อวิดีโอ โปรดิวเซอร์ และผู้ผลิตโฆษณาตั้งหน้าตั้งตาตามหาเสียงดนตรีที่เหมาะสมสำหรับการสร้างเรื่องราวและโฆษณาทางพอดคาสต์

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spectrum)

งานโปรดักชั่นอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเรียบง่ายและร่วมสมัย เราได้ยินเสียงอิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ ที่ เนื่องจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของวิดีโอออนไลน์และโซเชียลมีเดีย และความนิยมที่เพิ่มขึ้นสำหรับแนวเพลงปลีกย่อยอย่างเช่น Future Bass, Electrofunk และ Synthwave