Fibre Optic กับ ADSL ติดเน็ตบ้าน อะไรดี เป็นคำถามโลกแตกพอกับการเลือกใช้ 3G/4G เครือข่ายไหนดีที่สุด สมัยก่อนเลือกเน็ตบ้านอาจไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ “คู่สาย” และระยะทางแต่ละบ้านที่แตกต่างกัน ภายใต้พื้นฐานเทคโนโลยีที่เป็นสายโทรศัพท์ (ADSL) เหมือนกัน แต่เมื่อความต้องการความเร็วที่มากขึ้นจึงเป็นที่มาของ VDSL และ Fibre Optic

fibre-switch

ADSL, VDSL, Fibre Optic ต่างกันอย่างไร

ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line ซึ่งเชื่อว่าหลายคนคุ้นเคยกันอย่างดี ในเทคโนโลยีของตระกูล xDSL ที่ใช้งานกันมาหลายปีในบ้านเรา แต่ข้อจำกัดด้านความเร็วก็คือจะได้สูงสุดประมาณ 24 Mbps/1 Mbps (โดยประมาณ) และคุณภาพส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระยะทาง รวมถึงคุณภาพของคู่สายโทรศัพท์เป็นเสียมาก

VDSL ย่อมาจาก Very high bit rate Digital Subscriber Line เข้ากันได้กับสายโทรศัพท์ที่มีอยู่ตามบ้านเรา ข้อดีคือทำความเร็วได้มากกว่า ADSL แต่มีระยะเดินสายที่สั้นกว่า และนั่นเป็นปัญหาของผู้ให้บริการไม่เกี่ยวกับเรา (ฮา) โดยส่วนมากในไทยก็จะเปลี่ยนเป็นแบบนี้กันเยอะแล้ว โดยเฉพาะตามคอนโดหรือตึกใหญ่

Fibre Optic หรือ FTTx (ขออธิบายรวมกันเลย) เป็นเครือข่ายความเร็วสูงที่สุดผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง ไร้สัญญาณรบกวนเนื่องจากไม่ได้เป็นทองแดง ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นแถมยังมีอายุการใช้งานถึง 30 ปี (กล่าวคือตัดทุกปัญหาของสายโทรศัพท์แบบเดิมออกไป) ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 1 Gbps โดยใช้สายเส้นเดิม

AIS Fibre

“ไฟเบอร์ออฟติก” กับ “ไฟเบอร์เคเบิล”

ในทางเทคนิคถึงแม้ว่าการทำงานจะคล้ายกัน แต่คุณภาพแตกต่างกันออกไป อย่างที่บทความเก่าเรื่อง รู้หรือไม่? อินเทอร์เน็ตช้าเพราะสายสัญญาณก็มีผลนะ ผู้ให้บริการบางเจ้าถึงแม้จะอ้างความเร็วเท่ากัน แต่สายอาจเป็นโทรศัพท์ (VDSL) หรือ “ไฟเบอร์เคเบิล” ซึ่งนั่นไม่ใช่ “ไฟเบอร์ออฟติก” โดยบางสายนั้นยังคงเป็นสายโทรศัพท์หรือเคเบิลทีวีอยู่ ทำให้คุณภาพได้ไม่เท่ากับ Fibre Optic แท้ทั้งระบบแบบที่ AIS ให้บริการ

ขนาดเลือก TAXI เรายังเลือกรถคันใหม่ ที่นั่งสบายกว่าและแอร์เย็นกว่า แล้วทำไมเราถึงไม่เลือกติดเน็ตกับผู้ให้บริการรายใหม่ ที่มีการเดินสายใหม่ ผ่านโครงข่ายใหม่ และถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า

จริงอยู่ที่ความเร็วต่อ Mbps นั้นสำคัญที่สุด แต่ความสเถียรก็เป็นสิ่งที่สำคัญ คงไม่มีใครอยากได้เน็ตความเร็วสูง แต่เน็ตช้าทุกเย็น จ่ายค่าบริการ 30 วัน แต่ใช้งานได้จริงแค่ครึ่งเดือน หรือแม้กระทั่งอาการติด ๆ ดับ ๆ เมื่อตอนฝนตก … ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากคู่สายเก่าทั้งนั้น

AIS PowerHome Package

ค่าบริการ

มาถึงจุดนี้ใครก็คงคิดว่า “เทคโนโลยีใหม่กว่าย่อมแพงกว่า” ซึ่งอันที่จริงมันก็เป็นเช่นนั้น เว้นเสียแต่ว่าเขาลดค่าบริการหรือจัดโปรโมชั่นให้เรา (ฮา) จากผลสำรวจเน็ตตามบ้านกว่า 90% จ่ายค่าบริการอยู่ที่เดือนละ 590 บาท มาหลายปีและคิดว่าคงจะจ่ายราคานี้ไปอีกนาน ซึ่งอาจมีบางคนยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อความเร็วแต่ก็ยังเป็นส่วนน้อย

ที่นี้ลองมาดูค่าบริการแต่ละเจ้าทั้ง TOT, 3BB, True, AIS ล้วนตั้งราคากลางอยู่ที่ 590 บาท เหมือนกันหมดราวกับมีกรมการค้าภายในคอยควบคุมราคาไว้ แต่สำหรับ AIS Fibre Optic หากคุณใช้เครือข่าย AIS อยู่แล้วจะได้ลดอีก 10% ตลอดอายุการใช้งาน เท่ากับว่า “เริ่มต้นเดือนละ 531 บาท” ซึ่งเป็นราคาไฟเบอร์ออฟติกถูกที่สุด (แถมยังถูกกว่า ADSL)

อัพเดท : จากการสำรวจราคาล่าสุดเหมือนในเว็บไซต์ AIS Fibre Broadband จะมีโปรโมชั่นลูกค้าใหม่ เหลือเพียงเดือนละ 440 บาท (15/5 Mbps) นานถึง 12 รอบบิล (แต่จะไม่ได้ AIS Playbox)

D-Link Wireless AC3150 Dual-band Gigabit mydlink Cloud ULTRA Router

สัญญาณรบกวน ปัญหาใหญ่ของคนอยู่คอนโด

หากคุณเป็นผู้ใช้งานตามบ้านคงไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณตีกัน หรือหากชนกันก็แค่เปลี่ยนช่อง (Chanel) โดยปกติแล้ว Router ที่แถมให้กับผู้ให้บริการทุกเจ้าจะเป็น Wireless 2.4 GHz ซึ่งมีช่องสัญญาณทั้งหมด 11 ช่อง แต่ใช้ได้ดีที่สุดโดยไม่ทับซ้อนใครเลยมีเพียงแค่ 3 ช่อง (1, 6, 11) ต่างจาก Wireless 5 GHz ซึ่งมีทั้งหมด 24 ช่อง และใช้งานได้จริงไม่ทับซ้อนใครเลยทุกช่อง

สาเหตุที่คนใช้ Wireless 2.4 GHz กันเยอะเนื่องจากอุปกรณ์เก่ารองรับ และมีราคาถูกคนจึงใช้เยอะ (แต่สมาร์ทโฟนและโน๊ตบุ๊คทุกรุ่นปัจจุบันรองรับ Wireless 5 GHz กันหมดแล้ว)

ข่าวดีก็คือ AIS Fibre สำหรับคอนโดทุกแพ็กเกจจะได้รับ Dual-band WiFi Router ที่รองรับการปล่อยสัญญาณทั้ง WiFi 2.4/5 GHz ตามมาตรฐาน 802.11ac หมดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนจากข้างห้อง แต่สำหรับคนใช้งานตามบ้านไม่ต้องเสียใจไปเพราะหากคุณสมัครแพ็กเกจ 50/10 Mbps ขึ้นไป ก็จะได้ Router เพิ่มอีกตัวไว้เป็นจุดปล่อย WiFi จุดที่สองของบ้าน

นอกจากนี้หากใครใช้งานสตรีมมิ่งในบ้านหนักจริง (ยกตัวอย่าง 4K) หรือมีผู้ใช้งานหลายอุปกรณ์จำนวนมาก การเลือกใช้ Router ที่แถมมาอาจไม่ตอบโจทย์ ก็สามารถซื้อมาใช้เป็น Bridge Mode ได้ด้วย (FTTx ของทรูไม่รองรับโหมดนี้)

4K Ultra HD

AIS Playbox

ก่อนหน้านี้ทรูเคยทำตลาดมาพร้อมกับ Truevision ในบางแพ็กเกจดูฟรี 100 ข่อง + 3 ช่อง HD ส่วนพวกแพ็กเกจที่มาพร้อม Truevision Gold Package อันนี้ดีจริงแต่ราคาแพงมาก ส่วนของทาง 3BB อันนี้ธรรมดาสุดเพราะดูผ่านเว็บไซต์ของ 3BB แถมดูได้แค่ 72 ช่อง

AIS PLAYBOX ในแพ็กเกจมาตรฐานจะได้กล่องฟรี (เอาไว้เสียบทีวีไม่ต้องติดจาน) สามารถดูได้ 100 ช่อง + 10 ช่อง HD พร้อมดูย้อนหลังได้ 21 ช่อง ส่วนใครอยากดูหนังใหม่หรือร้องคาราโอเกะก็ซื้อเพิ่มเป็นครั้งคราวได้ นอกจากนี้กล่องเป็นระบบปฏิบัติการ Android สามารถต่อเข้าทีวีทั่วไปได้เลย รองรับ Miracast, iPlay, DLNA สามารถต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนเพื่อออกจอใหญ่ได้เลย

v4_v6_table

ของแถมอื่น

แต่ละผู้ให้บริการก็มีของแถมต่างกันไป บ้างก็เป็น Cloud, บ้างก็เป็น Wi-Fi นอกบ้าน, ฯลฯ แต่ในเรื่องที่ได้ใช้งานแน่ ๆ และเกี่ยวกับเน็ตบ้านโดยตรงก็มี IPv6 ที่ตอนนี้เปิดควบคู่กับ IPv4 (หากคุณไม่ทราบว่ามันคืออะไรก็ไม่เป็นไร แต่เตรียมตัวไว้ก็ดีเพราะมันคืออนาคต) นอกจากนี้ Router ที่แถมมาก็รองรับ IPv6 ส่วนผู้ให้บริการรายอื่นจ่ายแต่ IPv4 เพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ในส่วนของ DDNS และ Port Forward ลูกค้าของ AIS Fibre สามารถใช้งานได้ผ่าน thddns.net ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ให้กับ Server ในบ้านและเข้าถึงข้อมูลนี้ผ่านนอกบ้านได้ เหมาะสำหรับการตั้งเพื่อดูภาพจากกล้อง CCTV, โหลดไฟล์ Cloud ส่วนตัวในบ้าน, รวมถึงสามารถใช้งาน BitTorrent ได้เร็วกว่า

สรุป

หากเป็นเน็ตมือถือ 3G/4G ถ้าเครือข่ายไหนมันช้า หรือราคาแพงเราก็เปลี่ยน แต่น่าแปลกใจที่เน็ตบ้านหลายคิดติดมาหลายปีกลับไม่ยอมเปลี่ยน ในเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ คู่สายใหม่ ราคาที่ถูกกว่าเข้ามา ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องทนใช้ของเดิม ส่วนใครอยากเปลี่ยนจากเน็ตสายโทรศัพท์หรือไฟเบอร์เคเบิลมาเป็น “ไฟเบอร์ออฟติก” ของแท้ สามารถมาสมัครและตรวจสอบพื้นที่ให้บริการได้ที่เว็บไซต์ AIS Fibre หรือ AIS Fibre Call Center 1185

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial