เนื่องจากหัวเข่าเป็นอีกหนึ่งในอวัยวะชิ้นสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เราสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่มีติดขัด แต่อย่างไรก็ตามเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวเข่าก็เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของมนุษย์เราที่ล้วนแล้วแต่มีวันเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แม้เรื่องดังกล่าวจะเป็นข้อเท็จจริงสามัญ แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้ด้วยการมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเป็นประจำผ่านการออกกำลังกาย รวมไปถึงการเข้ารับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงเพื่อให้หัวเข่าของเราสามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติก่อนที่จะสายเกินแก้ และเพื่อเป็นการบอกต่อข้อมูลสำคัญที่ทุกคนควรทราบ ดังนั้นเราจึงทำการรวบรวม 3 สัญญาณสำคัญที่กำลังบ่งบอกว่าคุณอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมาให้ทุกคนได้ทราบเพื่อเตรียมตัวป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

รู้สึกถึงอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย

ข้อเข่าเสื่อม-1

จริงๆ แล้วอาการดังกล่าวนับว่าเป็นหนึ่งในสัญญาณเริ่มต้นที่กำลังบ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงของการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยสัญญาณสำคัญที่เราทุกคนไม่ควรมองข้ามได้แก่ อาการปวดต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณหัวเข่ายามต้องเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนอริยบทโดยฉับพลัน เช่น การเดินหรือวิ่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ โดยอาการบาดเจ็บส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหลังจากหยุดใช้งานสักพัก แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ข้อฝืดหรือมีเสียงกรอบแกรบบริเวณข้อหัวเข่า

มีอาการปวดรุนแรงตลอดเวลา

ข้อเข่าเสื่อม-3

หากใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีอาการปวดบริเวณหัวเข่าอย่างรุนแรงแม้จะหยุดพักการใช้งานเป็นเวลานาน ขอให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่าอาการบาดเจ็บดังกล่าวกำลังเข้าไปสู่ในระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องรีบเข้าไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อมองหาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยา การฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในข้อ รวมไปถึงการการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพราะหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษา หัวเข่าของเราอาจจะทรุดหนักจนทำให้ยากต่อการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติเหมือนแต่ก่อน

เข่าผิดรูป

ข้อเข่าเสื่อม-2

อีกหนึ่งสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่าคุณจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้แก่ การผิดรูปของหัวเข่า สำหรับผู้ป่วยรายใดที่ผ่านการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทำกายภาพบำบัดหรือการรับประทานยา แต่ยังคงมีบาดเจ็บร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หัวเข่าบวมแดงหรือเหยีดขาได้ไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน ทางที่ดีเราอยากจะแนะนำให้ลองเข้าไปพบแพทย์อีกหนึ่งครั้งเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและมองหาขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับถัดไป

ก่อนจากกันไปเราอยากจะขอชี้แจงให้ทุกคนทราบกันอีกครั้งว่าแม้อาการปวดหัวเข่าจะสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกลับมาใช้งานร่างกายได้ดีเหมือนแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม หากเราทุกคนรับรู้ถึงสัญญาณต่างๆ ที่ร่างกายส่งมาตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วรีบเข้าไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อมองหาแนวทางการรักษาที่สอดคล้องกับอาการ เช่นการทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม แน่นอนว่าโอกาสที่เราจะสามารถสลัดอาการบาดเจ็บแล้วกลับมาทำกิจกรรมที่เรารักได้อย่างเป็นปกติย่อมมีมากกว่าการปล่อยทิ้งไว้โดยปราศจากการดูแลรักษาที่เหมาะสม

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial