กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมใด ๆ ก็ตาม ย่อมต้องก่อให้เกิดมลภาวะหลากหลายรูปแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไม่รวมความเสี่ยงขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งทั้งสองอย่างรวมกันส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยภายในโรงงานทั้งในเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุ เพื่อตอบรับมาตรการคุ้มครองต่าง ๆ ต่อพนักงานและเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จึงต้องมีมาตรการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงความเสี่ยงและการควบคุมปัจจัยเหล่านั้น ใบบทความนี้ เรามาทำความรู้จักกันขอบเขตของคำคำนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า
สุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยคืออะไรกันแน่?
คำคำนี้ประกอบไปด้วยคำว่า “สุขศาสตร์อุตสาหกรรม” และคำว่า “ความปลอดภัย”
- สุขศาสตร์อุตสาหกรรมหรือ Industrial Hygiene เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมโดยตรง กล่าวคือ เป็นการดูแลและตรวจสอบสภาพแวดล้อมการทำงาน และหากพบจุดที่บกพร่องก็ต้องแก้ไขและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ปฏิบัติงานและชุมชนข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลภาวะทางเสียง ความร้อน แรงดัน ฝุ่น สารเคมี หรือแสงสว่าง
- ส่วนคำว่าความปลอดภัย คำนี้ก็ตรงตัวตามความหมายเลยคือการที่ผู้ปฏิบัติงานและชุมชนโดยรอบมั่นใจว่าจะไม่ได้รับอันตรายจากอุตสาหกรรมดังกล่าว
โรงงานต้องผ่านการตรวจวัดด้านใดบ้าง?
ขอบเขตของคำว่าสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยนั้นครอบคลุมกระบวนการดังต่อไปนี้
- การตระหนัก ก่อนจะเริ่มต้นแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม โรงงานต้องตระหนักถึงปัญหาตามความเป็นจริงโดยการพยายามค้นหาและบ่งชี้ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อพนักงานหรือชุมชนรอบข้างตั้งแต่ส่วนประกอบทางกายภาพและเคมี โดยอาจทำการสำรวจหรือตรวจสอบเอกสารย้อนหลังก็ได้
- การประเมิน นำข้อมูลที่รวบรวมได้ในขั้นตอนแรกมาประเมินว่าความเสี่ยงหรืออันตรายที่พบนั้นอยู่ในระดับใด โดยใช้เครื่องมืออ่านค่าและเครื่องมือวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือมาช่วยในการทำงาน
- การควบคุม เมื่อพบว่าส่วนใดที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย ควรทำการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นเอาไว้ไม่ให้ลุกลามและหาแนวทางป้องกัน เช่น จัดหาอุปกรณ์ป้องกันให้พนักงาน จุดไหนแก้ไขได้ก็ควรปรับเปลี่ยน เป็นต้น
ค้นหาผู้ให้บริการเฉพาะทาง
ทุกโรงงานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจวัดมาตรฐานเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาและลดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและชุมชนให้ได้มากที่สุด โดยเลือกผู้บริการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองจากสถาบันระดับสากลต่าง ๆ เช่น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งสหรัฐอเมริกา หรือองค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยต้องใช้หลักการและการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และรายงานผลให้กับโรงงานเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาและรับมือได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial