Super 4G เป็นการพัฒนาอีกขั้นของ Dtac และเป็นการยกมาตรฐานอีกขั้นของ 4G-LTE ที่เราเคยรู้จัก อย่างที่เราทราบกันดีว่าตอนนี้ทางดีแทคมีเงินอยู่ 70,000 ล้านบาท และทางบริษัทฯ ก็เลือกที่จะนำมาปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาเครือข่าย ให้กับผู้ใช้งานได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่เร็วกว่า!

differences-between-4g-super-4g

4G กับ Super 4G ต่างกันอย่างไร

หากต้องการคำตอบอย่างละเอียดยิบมันจะยาวมาก ซึ่งคุณสามารถไปอ่านด้วยตัวเองได้ที่ Wikipedia (ฮา) แต่ถ้าอธิบายแบบภาษาเพื่อนก็คือ “ความเร็ว” ที่มากขึ้นเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีอีกขั้นของ 4G-LTE แต่ทั้งนี้โครงข่ายก็ต้องรองรับด้วยเช่นกันซึ่งตรงนี้หากเป็นอุปกรณ์ที่รองรับ 4G อยู่แล้วก็สามารถใช้งาน Super 4G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ส่วนจะเร็วมากขึ้นกี่เท่าจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับหลายปัจจัยด้วยกัน

Super 4G (1)

Super 4G คืออะไร

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าทางดีแทคมีเงินอยู่ 70,000 ล้านบาท และเลือกที่จะนำเงินก้อนนี้มาปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาเครือข่าย โดยการขยายบริการ 4G จากเดิม 5 MHz (บนคลื่นความถี่ 2100 MHz) เป็น 15 MHz (บนคลื่นความถี่ 1800 MHz) เปรียบได้ดั่งการขยายถนน ทำให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้น 3 เท่า สูงสุดถึง 126 Mbps กลายเป็น Super 4G อย่างเต็มตัว

ทำให้ปัจจุบันกลายเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีแบนด์วิช 4G จำนวน 20 MHz เหมือนกับการขยายท่อให้ใหญ่ขึ้น และเห็นผลอย่างชัดเจนในเรื่องของความเร็ว ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เท่านั้น ต่างจากค่ายอื่นที่เป็นการใช้เทคนิค Carrier Aggregation (CA) เอาความถี่ 2100 MHz, 1800 MHz หรือ 900 MHz มาต่อกันเพื่อทำความเร็ว

โดยในความเป็นจริงแล้วการจะใช้งานแบบนี้ให้ราบรื่นนั้นจะจำกัดเฉพาะสมาร์ทโฟนรุ่น TOP จากแบรนด์ดังเท่านั้น ซึ่งในตอนนี้เห็นทีจะยังมีเพียงไม่กี่รุ่น เช่น iPhone 6s, Galaxy Note 5 เป็นต้น ในขณะที่หากเป็น Super 4G แค่สมาร์ทโฟนราคาพันกลาง ๆ ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์ได้แล้ว

Single Carrier

ยกตัวอย่าง

ภาพด้านบนคือเหตุการณ์สมมุติ (ตัวเลขอาจไม่ตรงบ้างแต่หลักการประมาณนี้) เดิมที Carrier 1 มีขนาด 5 MHz ซึ่งทำถนนส่งข้อมูลที่เป็นรถได้ 42 Mbps สิ่งที่ทางดีแทคกำลังทำก็คือเปลี่ยน Single Carrier ขยายถนนตรงนี้ให้เป็น 20 MHz เพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุด 126 Mbps แต่สำหรับค่ายอื่นอาจใช้เทคนิคเพิ่ม Carrier 2-3 เพื่อเพิ่มถนนเลนใหม่ โดยก็ไม่ได้เป็นวิธีที่ผิดอะไรเพียงแต่ว่าวิธีนี้ถ้าจะให้ใช้งานได้ราบลื่น สมาร์ทโฟนจะจำกัดอยู่เพียงแค่ไม่กี่รุ่นเท่านั้น

เปรียบเทียบความเร็ว

หากพูดเป็นตัวเลขอาจคงไม่เห็นภาพ และสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปจะสัมผัสได้ประมาณนี้

  • ดาวน์โหลดเพลงยกอัลบั้ม (ประมาณ 84 MB) ใช้เวลา 21 วินาที
  • อัพโหลดรูปภาพจำนวน 1 รูป (ประมาณ 100 KB) ใช้เวลา 0.05 วินาที
  • ดาวน์โหลดไฟล์งานขนาดใหญ่ (ประมาณ 150 MB) ใช้เวลา 37.5 วินาที
  • อัพโหลดไฟล์งานขนาดใหญ่ (ประมาณ 150 MB) ใช้เวลา 60 วินาที

สำหรับเรื่องการเล่นเกม, วิดีโอคอล, หรือแม้กระทั่งการสตรีมมิ่งภาพยนตร์ความละเอียดสูง 1080P ถือว่าผ่านเกณฑ์ได้อย่างสบาย

Super 4G (2)

ครอบคลุมแค่ไหน

สำหรับการขยายโครงข่ายเป็นแผนในระยะยาว 3 ปีนับจากนี้ เพื่อให้ Dtac Super 4G ครอบคลุมทุกอำเภอ 878 อำเภอทั่วประเทศไทย ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2559 และเท่าที่ผมตรวจสอบดู กรุงเทพและหัวเมืองใหญ่หลายแห่งเริ่มรองรับหมดแล้วเช่นกัน

แบนด์วิช (Bandwidth) หมายถึง ปริมาณการรับและส่งข้อมูลของทางอินเตอรเน็ต โดยใช้หน่วยเป็น bps (bit per second), Mbp (bps*1000000) โดยเกิดจากคำว่า Band หมายถึง คลื่นความถี่ และ Width หมายถึง ความกว้าง เมื่อนำมารวมกัน เปรียบได้ดั่งถนนหรือท่อน้ำที่ยิ่งกว้างก็ยิ่งรองรับได้มากขึ้น

Single Carrier หมายถึง โหมดพื้นฐานปฏิบัติงานสำหรับการสื่อสารไร้สาย ที่กำหนดช่องเดี่ยวสำหรับการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไร้สายทุกรุ่นรองรับอยู่แล้ว สิ่งที่ดีแทคทำคือการขยายแบนด์วิช 1800 MHz (20 MHz) จึงทำให้กลายเป็นถนนที่กว้างที่สุดสำหรับส่งข้อมูล

CA (Carrier Aggregation) หมายถึง การเอาคลื่นสองความถี่ (เฉพาะที่ค่ายสัมปทานได้) มารวมกัน เช่น 2100 MHz (15 MHz) + 1800 MHz (15 MHz) มารวมกันเป็นแบนด์วิช 30 MHz เพื่อให้ทำความเร็วได้สูงขึ้น แต่ปัญหาคือรองรับเฉพาะอุปกรณ์รุ่นใหม่ และเฉพาะที่มีราคาแพงเท่านั้น เช่น iPhone 6s หรือ Galaxy Note 5 ส่วนรุ่นอื่นจะไม่สามารถใช้ได้ เนื่องจากรับหลายความถี่พร้อมกันไม่ได้

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial