Epson M100 พริ้นเตอร์ติดแท๊งค์ปลอมตอนนี้ถือว่าเชยไปแล้ว นอกจากคุณภาพหมึกจะไม่ได้มาตรฐาน แถมยังทำให้ประกันขาดอีกด้วย “พริ้นเตอร์แท๊งค์แท้” เอปสัน M-Series ด้วยคุณสมบัติเทียบเท่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ แต่ประหยัดมากกว่าถึง 39% ด้วยต้นทุนเพียงแผ่นละ 9.8 สตางค์ (ประมาณ 10 แผ่นบาท) ในขณะที่เลเซอร์ตกแผ่นละ 25 สตางค์ (4 แผ่นบาท) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากครับ

Epson M100
Epson M100

Epson M100

เอปสันเปิดตัวรุ่นนี้ภายใต้ชื่อ EPSON M-Series ประกอบไปด้วย M100 และ M200 (พื้นฐานเดียวกันแต่ต่างแค่ฟีเจอร์นิดหน่อย) โดยมีราคาอยู่ที่ 5,990 บาท และ 7,490 บาท ตามลำดับส่วนกลุ่มเป้าหมายก็เน้นไปที่สำนักงานขนาดเล็ก หรือคนที่ใช้พิมพ์เอกสารปริมาณมากโดยต้องการราคาถูก

Epson - M100 (2)

ส่วนตัวผมเองก็เป็นพนักงานออฟฟิศคนหนึ่ง ที่บอกตามตรงว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้พิมพ์เท่าไหร่ เพราะเน้นไปที่ E-Paperless เสียส่วนมาก แต่งานบางอย่างเช่นสัญญาลูกค้าหรือเอกสารหลายชนิด ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องพิมพ์อยู่ Printer จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายปีก่อนเรามีความเชื่อว่า “ถ้าพิมพ์เยอะยังไงก็ต้องเลเซอร์ ค่าเครื่องแพงแต่ต้นทุนต่อแผ่นถูก” แต่ปัจจุบันความเชื่อเช่นนั้นไม่จริงเสมอไป

Epson M100 ต้นทุนต่อแผ่นถูกกว่าเลเซอร์

สำหรับคนที่มีความคิดจะไปติดแท๊งค์ปลอม อยากบอกว่าตอนนี้เชยมากครับ เพราะนอกจากจะแพงแล้วยังประกันขาดอีก (น้ำหมึกก็ไม่ได้มาตรฐาน) ตอนนี้ทาง Epson ได้เปิดตัวแท็งค์แท้ (Ink Tank) มาหลายรุ่น M100 ก็หนึ่งในนั้น ไม่ต้องไปเสี่ยงติดแท๊งค์ปลอมให้ประกันขาด หรือใช้เลเซอร์แบบเก่าให้สิ้นเปลืองอีกต่อไป

Epson - M100 (3)

ด้านข้างเป็นส่วนของถังเก็บน้ำหมึก ดีไซน์ออกมาได้เรียบสวยเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเครื่อง มีฝาครอบเรียบร้อยสวยงามเพียงแค่เลื่อนไปข้างใน ถัดลงมาจะเป็นสเกลน้ำหมึกที่สามารถสังเกตได้จากด้านนอก

Epson - M100 (4)

ด้านหน้ามีสวิทซ์สำหรับปิดแท๊งค์น้ำหมึกเวลาเคลื่อนย้าย ทำให้เวลาย้ายที่แล้วหมึกไม่หกเลอะเทอะ

Epson - M100 (5)

สำหรับวิธีการเติมหมึกก็ง่ายดายเช่นกัน ไม่ต้องใช้สลิ้งฉีดหมึกให้เลอะเทอะ ขวดนึงออกแบบมาให้เพียงพอสำหรับเติมเต็มแท๊งค์ 140 มล. ส่วนราคาหมึกก็อยู่ที่ขวดละ 690 บาท (เป็นหมึกกันน้ำด้วย)

Epson - M100 (6)

พูดเรื่อง Printer สำหรับสำนักงาน คงขาดไม่ได้กับพอร์ต LAN เผื่อเอาไว้แชร์กับหลายเครื่องด้วยกัน แต่สำหรับใครที่ใช้ส่วนตัวแค่คนเดียวจะเลือกต่อผ่าน USB ก็ไม่มีปัญหาเช่นกัน

Epson - M100 (7)

ด้านหน้ามีแผงควบคุมสุดเรียบง่าย เพียงแค่ 3 ปุ่ม (ง่ายจัง) ประกอบไปด้วยเปิดปิดเครื่อง, แสดงสถานะเครือข่าย, ยกเลิกงานพิมพ์ แต่ตรงนี้ก็ไม่ต้องกังวลเพราะการควบคุมส่วนใหญ่ มักจะอยู่ในส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว

Epson - M100 (8)

ด้านในเป็นสายลำเลียงน้ำหมึกอย่างเรียบง่ายและเป็นระเบียบ แตกต่างจากเวลาเราไปติดแท๊งค์ปลอมที่ร้าน

Epson - M100 (9)

รีวิว | Epson M100

ทดสอบพิมพ์จริงงานพิมพ์ขาวดำส่วนใหญ่ คาดว่าคงเอาไปพิมพ์เอกสารกัน ดูจากตัวอักษรก็คมเข้มไม่ต่างจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์

Epson - M100 (10)

หากไม่บอกจริงก็แยกไม่ออกเหมือนกันว่าพิมพจากเครื่องอิงค์เจ็ทหรือเลเซอร์ ความคมชัดของตัวอักษรไม่ต่างกัน

Epson M-Series

ความคุ้มค่า

หากคุณยังไม่ทราบทันทีที่ซื้อเครื่องใหม่จะได้หมึกน้ำหมึกถึง 2 ขวด (140 + 70 มล.) สามารถพิมพ์ได้ทันทีถึง 8,000 แผ่น (หากพิมพ์วันละร้อยแผ่นก็ใช้เวลาเกือบสามเดือน) และอย่างที่บอกในตอนแรกว่าหมึกขนาด 140 มล. ราคาเพียงแค่ 590 บาท พิมพ์ได้ถึง 6,000 แผ่น ต้นทุนตกเพียงแค่แผ่นละ 9.8 สตางค์ หากเป็นเลเซอร์ต้องเปลี่ยนโทนเนอร์ถึง 3 ขวด (ประมาณ 1,500 บาท) จะคิดต่อแผ่นหรือรวมต้นทุนเครื่องไปด้วยยังไงก็คุ้มกว่า

Epson - M100 (11)

หมึกกันน้ำ

ใครว่าอิงค์เจ็ทหมึกจะไม่ถูกกับน้ำเสมอไป สำหรับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด Epson ได้ผลิตหมึกกันน้ำออกมาขาย ในราคาไม่แพงตกเพียงขวดละ 590 บาท (140 มล.) เอกสารที่พิมพ์มีความทนทานไม่ต่างจากเลเซอร์ สามารถป้องกันอุบัติเหตุอย่างน้ำและความชื่นได้เป็นอย่างดี

หมึกอิงค์เจ็ทกันน้ำ Epson
หมึกอิงค์เจ็ทกันน้ำ Epson

ทดสอบฉีดน้ำจนกระดาศเปื่อยยุ่ยจน (เหี่ยวมาเชียว) แต่ตัวอักษรก็ไม่ได้ละลายไปกับน้ำ

หมึกอิงค์เจ็ททั่วไป ไม่กันน้ำ
หมึกอิงค์เจ็ททั่วไป ไม่กันน้ำ

หากเป็นหมึกอิงค์เจ็ททั่วไป (รวมถึงหมึกปลอม) จะไม่มีความสามารถในการกันน้ำ ลองหลับตานึกถึงเอกสารสัญญาสำคัญที่ให้ลูกค้าเซ็นต์ แล้ววันหนึ่งด้วยอุบัติเหตุทำให้สีจืดจางหรือละลายไปกับน้ำ คงแทบอยากจะลาออกไม่กล้าไปพบหัวหน้ากันเลยทีเดียว

Epson - M100 (13.2)

และถึงแม้จะเป็นการพิมพ์รูปภาพที่ใช้น้ำหมึกเยอะกว่า ก็ไม่มีปัญหาถ้าหากใช้หมึกอิงค์เจ็ทกันน้ำของแท้จาก Epson

Epson - M100 (14)

ความเร็วในการพิมพ์

หลายบริษัทเลือกซื้อ Laser Printer ส่วนหนึ่งเพราะความเร็วใจการพิมพ์ EPSON M-Series ก็มาพร้อมกับความเร็วในการพิมพ์ไม่แพ้กัน ด้วยความเร็ว 15 แผ่น/นาที เทียบเท่ากับเลเซอร์ (ISO24734) ดังนั้นเรื่องความเร็วก็ไม่ต้องกังวล

Epson - M100 (15)

แต่หากพิมพ์ภาพแผ่นใหญ่ก็จะใช้เวลามากกว่า (เล็กน้อย) ส่วนภาพด้านบนก็ยังใช้เวลาไม่กี่วินาที

Epson - M100 (16)

งานพิมพ์ที่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็นขาวดำแต่ก็มีลายเส้นครบถ้วน โดยรวมถือว่าเป็นที่น่าพอใจ

Epson - M100 (17)

ไม่เพียงแค่ค่าน้ำหมึกที่ถูกกว่าในความเร็วการพิมพ์ที่เท่ากัน การใช้พลังงานยังน้อยกว่าถึง 70% โดยไม่ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ผ่านการรับรองมาตรฐานโดยสถาบันระดับโลกอย่าง Energy Star คุ้มกว่าทุกด้านแบบนี้เล่นเอาเครื่องพิมพ์เลเซอร์ประจำออฟฟิศผมคงตกงานในเร็วนี้ ถูกทั้งเครื่องและหมึก (รวมถึงพลังงาน) พิมพ์ทิ้งพิมพ์ขว้างได้โดยไม่ต้องกังวล ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงเพราะทาง Epson เองก็รับประกันตัวเครื่องให้ถึง 2 ปี หรือ 50,000 แผ่น

ข้อดี

  1. ต้นทุนเพียงแผ่นละ 9.8 สตางค์
  2. ความเร็วในการพิมพ์ 15 แผ่น/นาที
  3. รองรับการแชร์ผ่าน LAN

ข้อเสีย

  1. ไม่รองรับ Wi-Fi
  2. ถาดใส่กระดาษเล็กไปนิด

สรุป

ที่สุดแห่งความคุ้มค่า เกิดมาเพื่อฆ่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ขาวดำอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนต่อแผ่นหรือความเร็วในการพิมพ์ (รวมทั้งการใช้พลังงาน) ข้อดีคือวางไว้ประจำโต๊ะได้เลย ไม่ต้องกังวลเรื่องอันตรายจากฝุ่นผงหมึกแบบเลเซอร์ หรือจะเลือกแชร์กันผ่าน LAN ก็ตอบโจทย์สำนักงานเป็นอย่างยิ่ง หากใครสนใจลองเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ EPSON M-Series

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial