การดูแลระบบเบรก ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้การขับขี่ปลอกภัยมากขึ้น เพราะเบรกเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมความเร็วและหยุดรถ โดยเฉพาะผ้าเบรก ถ้าผ้าเบรกเกิดเสื่อมสภาพ หรือผ้าเบรกหมดกะทันหัน อาจนำไปสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าเบรก และทำความรู้จักกับประเภทของผ้าเบรกก่อนเปลี่ยน
ผ้าเบรกคืออะไร?
ผ้าเบรกเป็นชิ้นส่วนสำคัญในระบบเบรกของรถยนต์ ทำหน้าที่สร้างแรงเสียดทานเพื่อชะลอความเร็วและหยุดรถ โดยระบบเบรกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมี 2 ประเภท คือ
1. ดิสก์เบรก
ระบบดิสก์เบรกเป็นระบบเบรกที่ใช้ในรถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีส่วนประกอบหลักคือ จานเบรก คาลิปเปอร์เบรก และผ้าเบรก โดยเมื่อผู้ขับเหยียบเบรก น้ำมันเบรกที่ส่งผ่านระบบไฮดรอลิกจะดันให้ผ้าเบรกกดเข้ากับจานเบรก ส่งผลให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก ซึ่งทำให้สามารถลดความเร็วของรถหรือหยุดรถได้ ดิสก์เบรกยังช่วยระบายความร้อนเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าในสภาวะการใช้งานหนัก เช่น การเบรกบ่อยครั้งหรือในขณะขับขี่ที่ความเร็วสูง
2. ดรัมเบรก
ระบบดรัมเบรกเป็นระบบเบรกแบบดั้งเดิมที่ยังคงใช้งานในรถบางรุ่น โดยเฉพาะในรถบรรทุกและรถที่มีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบหลักของดรัมเบรกคือ ผ้าเบรกทรงโค้ง ก้ามปูเบรก สปริง และลูกสูบ เมื่อผู้ขับเหยียบเบรก ลูกสูบจะดันผ้าเบรกให้เสียดสีกับผนังด้านในของดรัมเบรกที่หมุนอยู่กับล้อ ทำให้เกิดแรงเสียดทานและชะลอความเร็วของรถ ดรัมเบรกมีข้อดีในเรื่องความทนทานและการรองรับน้ำหนักได้ดี แต่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าดิสก์เบรก จึงอาจเกิดความร้อนสะสมเมื่อใช้งานเบรกต่อเนื่อง
ประเภทของผ้าเบรก
ผ้าเบรกมีหลายประเภทแตกต่างกันตามวัสดุที่ใช้ผลิต ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานและประสิทธิภาพการเบรก
1. ผ้าเบรกออร์แกนิก (Organic brake pad)
ผลิตจากวัสดุธรรมชาติอย่างเส้นใยแก้ว ยาง และไฟเบอร์ ให้ความนุ่มนวลในการเบรกและเงียบ เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมืองที่ไม่ต้องใช้ความเร็วสูง ราคาประหยัด แต่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าประเภทอื่น
2. ผ้าเบรกเซรามิก (Ceramic brake pad)
เป็นผ้าเบรกระดับพรีเมียม ผลิตจากวัสดุเซรามิกผสมเส้นใยทองแดง มีความทนทานสูงสุด ให้การเบรกที่นุ่มนวล เงียบ และไม่มีฝุ่นดำ แต่มีราคาสูงและอาจทำให้จานเบรกร้อนได้ง่ายเนื่องจากไม่ดูดซับความร้อน
3. ผ้าเบรกเมทัลลิก (Metallic brake pad)
ผลิตจากโลหะที่ทนความร้อนสูง มีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก แต่อาจมีเสียงดังรบกวนเมื่อใช้ไประยะหนึ่งและทำให้จานเบรกสึกหรอเร็ว
4. ผ้าเบรกเซมิเมทัลลิก (Semi-metallic brake pad)
เป็นผ้าเบรกที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน มีส่วนผสมของโลหะ 65% ให้ความทนทานสูงและอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบขับเร็วและต้องการประสิทธิภาพการเบรกที่ดี
ผ้าเบรกใกล้หมด มีอาการยังไง
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าผ้าเบรกใกล้หมดมีหลายอาการ ได้แก่
- ต้องเหยียบแป้นเบรกลึกกว่าปกติ
- รถหยุดช้าลงกว่าเดิม
- ต้องดึงเบรกมือสูงขึ้นเวลาจอด
- มีไฟเตือนเบรกมือที่หน้าปัดโดยไม่ได้ดึงเบรกมือ
- มีเสียงโลหะเสียดสีเวลาเบรก
ผ้าเบรกควรเปลี่ยนเมื่อไหร่?
โดยทั่วไปผ้าเบรกมีอายุการใช้งานประมาณไม่เกิน 60,000 กิโลเมตร แต่ระยะจริงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความถี่ในการใช้รถ ลักษณะการขับขี่ว่าขับเร็วหรือช้า สภาพเส้นทางที่ขับขี่ว่าเป็นพื้นที่ราบหรือเขา ประเภทของผ้าเบรก รวมถึงสภาพแวดล้อมการใช้งาน
สรุปบทความ
การดูแลและเปลี่ยนผ้าเบรกตามกำหนดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยในการขับขี่ ผู้ขับขี่ควรเลือกประเภทผ้าเบรกให้เหมาะกับการใช้งานและหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนเมื่อผ้าเบรกใกล้หมด นอกจากนี้ การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุจากระบบเบรกขัดข้อง คุณจะได้รับความคุ้มครองจากประกันชั้น 1 อย่างครอบคลุม เพื่อความปลอดภัยที่คุ้มค่าในระยะยาว
หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial