ผู้ถือบัตร Mastercard สามารถชำระเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ระหว่างการเดินทางได้อย่างราบรื่นไม่สะดุด เพียงแตะบัตรเครดิตหรือบัตรพรีเพด Mastercard เพื่อชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่ประตูสถานี ไม่ต้องใช้เงินสด ซื้อตั๋วหรือเติมเงินบนบัตร MRT ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ บัตรคอนแทคเลสของมาสเตอร์การ์ดใช้เทคโนโลยี EMV ที่มีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งปัจจุบันใช้งานกับการขนส่งหลากหลายรูปแบบ ทั้งรถโดยสารสาธารณะและด่านเก็บค่าผ่านทางด่วนทั่วกรุงเทพฯ 

Mastercard-Expands-Cashless-Journey

เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่ Mastercard ได้พัฒนาโซลูชั่นสำหรับการเดินทางในเมือง เพื่อช่วยผู้ประกอบการขนส่งรับมือกับความท้าทายที่พวกเขาเผชิญและเพิ่มประสิทธิภาพของการเดินทาง ด้วยการเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ทำให้กรุงเทพฯ เป็นหนึ่งใน 390 เมืองทั่วโลกที่ Mastercard ได้ช่วยดำเนินการติดตั้งระบบโดยสารแบบไร้สัมผัส รวมถึงสิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์กและมิลาน 

ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 รถไฟฟ้า MRT ทั้งสองสายมีจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางโดยเฉลี่ยประมาณ 239,000 คน ต่อวัน และคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ จะมีจำนวนประชากรมากกว่า 12 ล้านคน ภายในปีพ.ศ 2573  ซึ่งการที่ผู้คนสามารถเดินทางด้วยเครือข่ายขนส่งสาธารณะที่มีความยุ่งยากน้อยที่สุดจะเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดความแออัดในมหานครที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในประเทศไทย Mastercard ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  (BEM) เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคให้บัตรในรูปแบบไร้สัมผัสสามารถใช้ชำระค่าโดยสารในเครือข่ายของรถไฟฟ้า MRT ได้ มาสเตอร์การ์ดมีความตั้งใจที่จะนำเอาการชำระเงินแบบไร้สัมผัสมายังระบบการขนส่งสาธารณะในประเทศไทย ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องที่จะสนับสนุนการเข้าสู่สังคมดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลไทย

การชำระเงินแบบไร้สัมผัสเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกและในเอเชีย เฉพาะในไตรมาสแรกของปีพ.ศ.2564 มาสเตอร์การ์ดมีธุรกรรมการใช้จ่ายแบบไร้การสัมผัสเพิ่มขึ้น 1 พันล้านรายการเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกในปีพ.ศ. 2563 โดยเฉพาะในประเทศไทยที่พบการเติบโตมากถึง 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบปีต่อปี จากผลสำรวจของมาสเตอร์การ์ดพบว่าผู้บริโภคชาวไทยพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีการใช้จ่ายรูปแบบใหม่ๆ โดย 93% ของคนไทยที่ตอบแบบสอบถามตอบว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ ในปีพ.ศ. 2564 ได้มากขึ้นกว่าเมื่อปีก่อน

“การช่วยเหลือเมืองและชุมชนต่างๆ ให้กลายเป็นสังคมดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและการผนวกรวมของผู้คนในสังคม นี่คือเหตุผลที่ ทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยเพื่อหาทางออกในการช่วยเร่งการเติบโตของ Smart City ให้กับประเทศไทย ” นางสาวไอลีนชูวผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์มาสเตอร์การ์ด กล่าว “เทคโนโลยีไร้สัมผัสมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดของขั้นตอนการชำระเงินที่มี touch point หลากหลายแห่ง การนำรูปแบบการชำระเงินที่สะดวกมาใช้ในเมืองที่เร่งรีบจะเป็นประโยชน์ต่อผู้โดยสารที่จะได้รับความรวดเร็วและปลอดภัยระหว่างการชำระเงินค่าโดยสารมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ให้บริการขนส่ง”

ในปีพ.ศ. 2563 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ของประเทศไทยเดินหน้าให้ 40 จังหวัดของไทยเข้าร่วมโปรแกรม Mastercard’s City Possible เครือข่ายระดับโลกที่มีกว่า 325 ชุมชน ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจเอกชนและนักวิชาการที่ร่วมมือกันอย่างแข็งแกร่งในการแลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันความเข้าใจในการก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานเสริมสร้างการเป็นหนึ่งเดียวของเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืน