ระบบไฟฟ้า หนึ่งในมาตรฐานที่ต้องให้ความใส่ใจ บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุเล็ก ๆ อย่างไฟช็อค ไฟรั่ว มักจะลุกลามจนสร้างความเสียหายให้กับองค์กร ทั้งทางด้านการทำงาน ตลอดจนชีวิตของคนภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า ที่จะทำการตรวจสอบทุกผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยเดียวกัน ซึ่งการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าจะไปอย่างไร ติดตามได้ที่บทความนี้
การทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าคืออะไร?
การทดสอบที่เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า เป็นการทดสอบที่มีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดจากไฟฟ้าหลักการนำสินค้าไปใช้จริง เช่น ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าของสินค้านั้น จะเป็นตัวช่วยป้องกันข้อผิดพลาดทางการผลิต ให้คุณได้มั่นใจว่าสินค้าที่วางขายจะไม่เกิดเหตุขัดข้อง จนกลายเป็นประเด็นใหญ่โตที่นำความเสียหายมาให้บริษัทได้
ความสำคัญของการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า
หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์นั้น จะต้องเกิดจากมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ และผ่านการทดสอบมาอย่างแม่นยำ ด้วยความที่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่แปลกที่แต่ละแบรนด์จะมีการแข่งขันที่สูงตาม ซึ่งแบรนด์ไหนที่ได้รับเครื่องหมายการันตีว่าผ่านมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety) จะยิ่งช่วยเสริมความมั่นใจในแง่ของการใช้งาน คุณภาพ และความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน
การประเมินและทดสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ทุก ๆ การทดสอบมาตรฐาน จะต้องมีข้อประเมินที่ถูกกำหนดไว้เพื่อยึดเป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐานได้อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่จะต้องผ่านการทดสอบสำคัญ ๆ เพื่อความมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งานอย่างเหมาะสม ซึ่งการทดสอบนั้นมีดังนี้
- การทดสอบแรงดันไฟฟ้าสูง: เป็นการตรวจวัดความสามารถของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าในการทนต่อแรงดันไฟฟ้าระดับสูงที่เกิดขึ้นระหว่างวงจรไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์และกราวด์
- การทดสอบค่ากระแสรั่วไหล: เป็นการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่า กระแสไฟฟ้าที่ไหลเวียนระหว่างแหล่งกระแสสลับและกราวด์ไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดในขณะที่ใช้งาน
- การทดสอบความต้านทานฉนวน: เป็นการตรวจวัดคุณภาพของฉนวนไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตสินค้าต่าง ๆ เพราะค่าความต้านของฉนวนนี้ถ้าหากมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขณะใช้งานได้
- การทดสอบความต่อเนื่องของสายกราวด์: เป็นการตรวจสอบว่าระหว่างพื้นผิวโลหะที่ผู้ใช้สัมผัสได้กับสายกราวด์ระบบไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อกันหรือไม่
หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial