ปัจจุบันกล้องมือถือเริ่มความละเอียดมากขึ้น รวมถึงภาพยนตร์ก็ถ่ายเป็น 4K กันหลายเรื่อง หลายคนจึงมองหาเตรียมอัพเกรด UHD TV ซึ่งมีความละเอียดมากกว่า Full HD ประมาณ 4 เท่า แน่นอนว่าเรื่องนี้ต่างมีความละเอียดมาเกี่ยวข้อง โดยหากนับจากความละเอียด 3,840 x 2,160 พิกเซล หรือประมาณ 8.3 ล้านพิกเซล แล้วสุดท้าย 4K TV แท้เขาดูกันอย่างไร ?

4K TV แท้จริงเป็นอย่างไร ?
4K TV แท้จริงเป็นอย่างไร ?

4K TV แท้จริงเป็นอย่างไร ?

ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันก่อน เกี่ยวกับเรื่องความละเอียดหน้าจอในแต่ละประเภท (หลายคนอาจลืมไปแล้ว) ซึ่งสำหรับความละเอียดในการสร้างสื่อวิดีโอ (TV Resolution) ไล่จากความละเอียดต่ำไปมากมีดังนี้

  • SD : 720 x 576 = 414,720
  • HD : 1,366 x 768 = 1,049,088 (ประมาณ 1 ล้านพิกเซล)
  • Full HD : 1,920 x 1,080 = 2,073,600 (ประมาณ 2 ล้านพิกเซล)
  • Ultra HD (4K) : 3,840 x 2,160 = 8,294,400 (ประมาณ 8 ล้านพิกเซล)

ดังนั้นเท่ากับว่าหากคุณซื้อ 4K TV แล้วได้ความละเอียดไม่ถึง 8 ล้านพิกเซล เท่ากับว่าคุณได้หน้าจอ 4K ไม่จริงอย่างแน่นอน แต่เอาเข้าจริงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเจอแบบนั้น แม้กระทั่งประเทศจีนเองก็ตาม

RGBW Technology
RGBW Technology

พิกเซลคืออะไร

ตามที่เราทราบกันดีพิกเซลคือจุดที่เล็กที่สุดบนหน้าจอ โดยการแสดงผลแบบ LCD แต่ละจุดจำเป็นต้องมีเม็ดสีเพื่อแสดงออกมาเป็นภาพ โดยอาศัยแม่สีที่เราคุ้นเคยกันดีคือ RGB (แดง, เขียว, น้ำเงิน) แต่ละพิกเซลมาผสมสีกันจนได้สีที่ต้องการแสดงผล

แต่การพัฒนาของทาง LG ไม่หยุดเพียงแค่นั้น ยังมีการเพิ่มพิกเซลใหม่เข้าไปคือ “W” (ขาว) นอกเหนือไปจากพิกเซลสีมาตรฐานปกติ ดังนั้นจึงกลายเป็น RGBW รวมแล้วเป็น 4-Color Pixels และทาง LG เรียกมันว่า “การแสดงผลหน้าจอแบบ M+” ที่โดดเด่นกว่าที่เคยมีมา

ความเข้าใจผิดก็คือบางคนคิดว่า 1 พิกเซล ก็คือหนึ่งเม็ดสี และการแสดงผลให้ครบ RGB ก็จำเป็นต้องใช้ 3 พิกเซลในการแสดงผล แต่แท้จริงแล้ว RGB เป็นเพียงแค่พิกเซลรอง (Sub-Pixel) เท่ากับว่าต่อให้เป็น RGBW รวมพิกเซลรองทั้งหมดแล้วก็ได้ 1 พิกเซล (เท่ากัน)

ข้อดีของ M+ หรือ RGBW
ข้อดีของ M+ หรือ RGBW

ข้อดีของ M+ หรือ RGBW

ของเดิมเพียงแค่ RGB ก็ดีอยู่แล้ว LG จะลำบากใส่ W เพิ่มเข้าไปอีกทำไม นั่นก็เพราะว่าการเพิ่มพิกเซลขาว จะทำให้ทีวีของเราสว่างมากขึ้น ให้ค่าสีที่แม่นยำและสมจริงมากกว่าเดิม และจากการเพิ่มพิกเซลขาวนี้เองทำให้ลดภาระของ RGB ลงไป ทำให้ประหยัดพลังงานได้อีก 35% และพาแนลจอยังเป็น In-Plane Switching หรือ IPS ที่จัดเรียงโมเลกุลพิกเซลทั้งหมดในแนวนอน ทำให้รับชมได้ชัดทุกมุมมองไม่ว่าจะอยู่มุมใดของห้อง

ไม่ว่าจะ RGB หรือ M+ (RGBW) ก็ยังเป็น 4K แท้เหมือนเดิม

แต่ถึงอย่างไรการเพิ่มพิกเซลสีขาวเข้ามา ก็ไม่ได้ส่งผลให้จำนวนพิกเซลลดลงแต่อย่างใด หากนับรวมแล้ว RGBW ก็ยังคงได้จำนวน 8,294,400 พิกเซล เหมือนกัน ซึ่งมาตรฐานความเป็น 4K TV อันนี้ทาง LG ไม่ได้พูดเอง แต่ยังผ่านการรับรองจากหลายสถาบันมากมายไม่ว่าจะเป็น VDE, Intertek และ International Committee for Display Metrology หรือ ICDM

LG UHD TV 4K
LG UHD TV 4K

สรุปแล้วก็คือหากคุณใช้หน้าจอเทคโนโลยี M+ จากทาง LG ก็ยังคงสามารถรับชมเนื้อหา 4K ได้อย่างไม่มีปัญหา แถมยังสามารถรับชมได้ที่ความละเอียด 4K (3840 x 2160 พิกเซล) เหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน และตอนนี้ผู้ผลิตเนื้อหาอย่าง YouTube, Netflix หรือ Amazon ต่างก็รองรับมาได้พักใหญ่แล้ว

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial