Nubia Z11 สมาร์ทโฟนแรงสุดส่งท้ายปี 2016 หน้าจอไร้รอบขนาด 5.5″ ที่มีขนาดเล็กเท่าสมาร์ทโฟนห้านิ้วทั่วไป Snapdragon 820, RAM 4 GB, ROM 64 GB ราคา 14,990 บาท สร้างความฮือฮาให้กับวงการเป็นอย่างมาก เพราะสเปคนี้หากเป็นค่ายอื่น จำเป็นต้องใช้เงินสองหมื่นกว่าบาท

Nubia Z11
Nubia Z11

Nubia Z11

สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่ได้ตามข่าว IT นักอาจไม่ทราบว่า Nubia เป็นบริษัทลูกที่แยกออกมาจาก ZTE ซึ่งมีการวางเอกลักษณ์ของแบรนด์ตรงที่ “Be Yourself” สร้างความแตกต่างไม่เหมือนใคร โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่า Nubia เป็นแบรนด์ระดับเดียวกับ Huawei, OPPO, Xiaomi, ZTE, OnePlus ที่สามารถสู้กันได้อย่างสมศักดิ์ศรีครับ

Nubia ถือสิทธิบัตรกว่า 60,000 รายการ

สะท้อนให้เห็นว่าแบรนด์นี้ไม่ได้มาเล่น ๆ หรือหลอกขายไปวัน ๆ แต่การมี สิทธิบัตร ถือเป็นดัชนีชี้วัดถึงความสำเร็จในการวิจัยพัฒนา และนวัตกรรมขององค์กร และที่สำคัญต่างจากแบรนด์จีน-ไต้หวันทั่วไปตรงที่ Nubia สามารถเข้าตีตลาดยุโรปได้ตั้งแต่ปี 2014 (ในขณะที่แบรนด์จีนหลายรายเข้าไปขายไม่ได้ เพราะติดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร)

ผลงานในอดีต

  1. Nubia Z5 (2012) : สมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลก ที่สามารถโฟกัสแยกจุดวัดแสง และรองรับทุกเครือข่าย
  2. Nubia Z7 (2014) : สมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลก ที่สามารถถ่ายทางช้างเผือกได้
  3. Nubia Z9 (2015) : สมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลก ที่ไร้ขอบหน้าจอ (Good Design Award และ iF Design Award)

nubia-z11-2

สเปค และรายละเอียด

Nubia Z11 มีทั้งหมดสองรุ่นด้วยกัน คือ รุ่นปกติ, รุ่นพิเศษ (สีดำทอง) โดยจะมีราคาต่างกันแค่ “พันเดียว” ดังนี้

  • ระบบปฎิบัติการ Android 6.0 (ครอบทับด้วย nubia UI 4.0 + NeoVision 6.0)
  • หน้าจอ 5.5″ IPS-NEO ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล
  • กระจก Gorilla Glass 3 ความโค้ง 2.5D แบบไร้ขอบ
  • หน่วยประมวลผล Qualcomm Snapdragon 820 MSM8996
  • แรม 4 GB สำหรับรุ่นปกติ 6 GB สำหรับรุ่นพิเศษ (สีดำทอง)
  • ความจุ 64 GB รองรับ microSD สูงสุด 200 GB
  • กล้องหลัง 16 MP f/2.0 OIS เซ็นเซอร์ IMX298 ระบบกันสั่น OIS, HIS, EIS
  • กล้องหน้า 8 MP f/2.4
  • ชิปเซ็ตเสียง AKM4376 พร้อม Smart PA Dolby Surround 7.1 ระบบ Hi-Fi+
  • รองรับสองซิม 4G LTE หรือเลือก microSD
  • รองรับสแกนลายลายนิ้วมือ
  • รองรับระบบชาร์จเร็ว QuickCharge 3.0
  • แบตเตอรี่ 3,000 mAh
  • ขนาด 151.8 x 72.3 x 7.7 มม.
  • น้ำหนัก 162 กรัม
  • ราคา 14,990 บาท สำหรับรุ่นปกติ และ 15,990 บาท สำหรับรุ่นพิเศษ (สีดำทอง)

ตัวเครื่องมีสีขาวทองและเทา ส่วนรุ่นพิเศษจะเป็นสีดำทอง ส่วนสเปคจะเหมือนกันทุกอย่างต่างกันแค่แรม (RAM)

nubia-z11-3

หลังจากตกใจในเรื่องราคาอันแสนถูกกันไปแล้ว (แนะนำซื้อรุ่นพิเศษไปเลยคุ้มกว่า) ทีนี้แกะกล่อง Nubia Z11 เราจะพบกับความน่าตกใจหลายประการ อย่างแรกเลยก็คือหูฟังที่แถมมาค่อนข้างดูดีทีเดียว (สำหรับของแถม) นอกจากยังมี USB Type-C Adapter แถมมาให้เผื่อใครจะเอาไปใช้กับ Micro USB ส่วนสายชาร์จเป็น Type-A > Type-C ซึ่งก็ปรับตัวกันได้ไม่ยากนัก

nubia-z11-4

แบตเตอรี่ที่ให้มา 3,000 mAh ดูเหมือนจะน้อยแต่สามารถใช้งานได้สูงสุด 2.17 วัน แต่ถ้าใช้งานหนักก็ 1.37 วัน ทั้งนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับระบบจัดการพลังงาน NeoPower 2.0 แต่ถ้าหากยังไม่ทันใจ ตัวเครื่องก็ยังรองรับระบบชาร์จเร็ว QuickCharge 3.0 ซึ่งจะเร็วกว่า 4 เท่าเทียบกับชาร์จปกติ Dual-Charging Chipset ชาร์จแล้วเครื่องไม่ร้อน

nubia-z11-5

ได้อย่างไม่จำเป็นต้องเสียอีกอย่าง หูฟังที่แถมมาเป็นระบบ 3.5 มม. (หน้าตาดูดีมากจนไม่น่าเป็นของแถม) นอกจากนี้ตัวเครื่องยังเหมาะกับคนฟังเพลง เพราะใช้ชิปเซ็ตเสียง AK4376 และระบบเสียง Hi-Fi+ พร้อมกับ Dolby Atmos ส่วนลำโพงก็ไม่ต้องน้อยใจไปเป็น Smart PA ที่มอบเสียงที่มึความนุ่มลึกและหนักหน่วงในจังหวะเดียวกัน

nubia-z11-6

รีวิว รอบตัวเครื่อง

ตัวเครื่องมีเอกลักษณ์ชัดเจนอยู่ที่ดวงไฟด้านล่างสีแดง ขนาดที่เห็นในตอนแรก (ยังไม่ปลดล็อคจอ) แทบไม่น่าเชื่อว่าจะอยู่ที่ 5.5″ เพราะด้วยขนาดเครื่องของมันที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไรนัก สำหรับบริเวณกระจกด้านข้างจะเป็น 2.5D โค้งรับกับขอบเครื่องอารมณ์เดียวกับ iPhone แนะนำว่าให้ใช้แบบไม่ติดฟิล์มจะให้สัมผัสที่ดีมากกว่า ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้ติดใช้งานสองสามอาทิตย์ก็ยังไม่เจอรอย

สำหรับสเปคหน้าเจอนับเป็นเทคโนโลยีรุ่นที่สองของ JDI Pixel Eyes หน้าจอเป็น IPS-NEO ให้ค่า Color Saturation ได้ถึง 96% (ของจริงจอสีสดไม่แพ้ Super AMOLED เลยทีเดียว) ส่วนความสว่างอยู่ที่ 500nits เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้งที่มีแดดจัดแบบบ้านเรา

nubia-z11-7

จากความเรียบง่ายด้านหน้า พลิกกลับมาดูด้านหลังดูมีลวดลายมากขึ้นเล็กน้อย ด้านหลังเป็นสแกนลายนิ้วมือที่ผมชอบมาก คือมันจะพอดีกับนิ้วชี้และเพียงแค่ “แตะ” หน้าจอก็ปลดล็อคเลย ไม่ต้องมากดปุ่มอื่นเพื่อให้มันตื่นก่อน ความเร็วตามสเปคอยู่ที่ 0.1 วินาที นอกจากนี้ยังสามารถใช้แทนปุ่มถ่ายภาพ, แคปหน้าจอ, เข้ารหัสแอปพลิเคชัน

nubia-z11-8

ตามมาตรฐานของ Google ที่พยายามเปลี่ยน Android ให้เป็นพอร์ต USB-C แน่นอนว่า Nubia ก็ได้เปลี่ยนตามแนวทางเช่นกัน ซึ่งอีกไม่นานทุกเครื่องที่เป็น Android ก็จะมีหัวเดียวกันแบบนี้หมด ส่วนลำโพงที่อยู่ข้างใต้ตามสเปคด้านบนก่อนหน้า (อันนี้ผมไม่ค่อยชำนาญเหมือนกัน) แต่ใช้งานจริงก็เสียงดังลำโพงเสียงแน่นเกินตัวเหมือนกัน

nubia-z11-9

ด้านข้างเป็นปุ่มปรับเสียงตามมาด้วยปุ่มล็อคหน้าจอ ใช้งานช่วงแรกถ้าไม่ชินก็กดผิดได้เหมือนกัน

nubia-z11-10

ด้านบนนอกจากช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. และไมค์รับเสียงตามปกติ ก็ยังมีอินฟราเรดสำหรับใช้เป็นรีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่การใช้งานอาจดูยุ่งยากไปนิดเพราะต้องเปิดแอปพลิเคชัน

nubia-z11-11

ในส่วนของเครือข่ายตัวเครื่องรองรับสองซิม 4G LTE แต่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างซิมที่สองกับการ์ดความจุ microSD ซึ่งอันที่จริงใส่สองซิมไปเลยก็ได้ (ประหยัดค่าเน็ตดี) เพราะในส่วนของความจุเครื่องก็ให้มา 64 GB ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว

nubia-z11-12

ผมชอบหน้าจอ Full HD เป็นการส่วนตัวเพราะมันไม่เกินความจำเป็นเท่าไหร่นัก (ต่อให้หน้าจอ 2K, 4K เวลาใช้งานจริงก็ลดสเกลลงมาอยู่ดี) และสิ่งมีความละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งกินทรัพยากรเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว และหน้าจอ IPS-NEO ให้ค่า Color Saturation ได้ถึง 96% มีสีที่สดมากไม่แพ้ Super AMOLED เลยทีเดียว แต่ส่วนตัวผมมองว่ามันค่อนข้างสดไปหน่อยถ่ายออกมาสดเชียว

nubia-z11-13

ในส่วนของกล้อง Nubia Z11 มีชิ้นเลนส์ถึง 6 ชิ้น ครอบทับด้วยกระจก Sapphire เพื่อกันรอย 16 MP IMX298 CMOS ให้รูรับแสงถึง f/2.0 และมีเทคโนโลยี DTI (Deep Trench Isolation), LTM (Local Tone Mapping) รวมถึงการลบ Noise ในแบบ 3D ระบบกันสั่นแบบ OIS, HIS, EIS และพูดกันตามตรงว่าบางเทคโนโลยีผมก็ไม่รู้จักเหมือนกัน แต่ดูจากภาพที่ถ่ายมาก็สวยอยู่

screenshot_nubia-z11-1

ระบบปฎิบัติการ และฟีเจอร์

ระบบปฏิบัติการ Android 6.0 โดยมีจุดเด่นที่ทำให้แตกต่างจากสมาร์ทโฟนเครื่องอื่น ด้วยการครอบทับด้วย nubia UI 4.0 ลักษณะการวางแอปพลิเคชันเข้าใจง่าย หมุนซ้ายขวาแบบเดียวกับ MIUI หรือ iOS สิ่งเดียวที่น่าเป็นห่วงก็คือ ความเร็วในการอัปเดตระบบปฎิบัติการในอนาคตมากกว่า

screenshot_nubia-z11-2

แอปพลิเคชันฉายหน้าจอในเครื่อง มีความพิเศษตรงที่เอาเครื่องเป็นจอรับภาพได้ด้วย (อันที่แปลกดีพึ่งเคยลอง) ส่วนการจับภาพหน้าจอสามารถเลือก จับภาพแบบยาว สามารถเก็บภาพได้ตามความยาวหน้าเว็บไซต์ รวมถึงสามารถ บันทึกวิดีโอหน้าจอ สำหรับนักแคสเกม และลูกเล่นอีกอย่างที่พอเล่นได้ก็คือ รีโมทคอนโทรล ที่ใช้ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

screenshot_nubia-z11-3

ขอบข้างจอไม่ได้มีแค่ความบางอย่างเดียว แต่หนึ่งในสิทธิบัตรที่ Nubia จดไปคือการควบคุมผ่านมุมข้างจอ สามารถใช้เพื่อสลับแอปพลิเคชัน, เปลี่ยนแอปพลิเคชัน, ตั้งความสว่างหน้าจอ, ฯลฯ เป็นลูกเล่นที่แปลกและไม่เคยจอมาก่อน สะท้อนความเป็น “Be Yourself” อย่างแท้จริง

screenshot_nubia-z11-4

นอกจากนี้ยังตั้งลูกเล่นอย่างการใช้สามนิ้วเพื่อสลับแอปฯ หรือแม้กระทั่งการเคาะสองครั้งเพื่อปลุก (อันนี้หลายคนคงคุ้นกันดี) อีกฟีเจอร์ปิดท้ายก็คือการ “ตบ” เพื่อล็อคจอ การใช้งานก็ตบตามชื่อนั่นแหล่ะครับ อาจแลดูโหดไปนิด (ฮา)

screenshot_nubia-z11-5

ตัวเครื่องให้เก็บข้อมูลได้จุใจ 64 GB หลังจากเปิดเครื่องเหลือพื้นที่ใช้จริง 52 GB และเสาอากาศ Wi-Fi เป็นแบบสองตัวรับสัญญาณ (Dual) หากใครต่อเน็ตแล้วมีปัญหาเรื่องสัญญาณไม่สเถียร ช้า ก็สามารถเปิดคุณสมบัตินี้ได้ (ระบบแจ้งว่าจะใช้พลังงานมากกว่าปกติหน่อย)

screenshot_nubia-z11-6

แบ่งได้สองหน้าจอ ตามใจคุณต้องการ

ต้องยกความดีความชอบให้กับสเปค Snapdragon 820 และ RAM 4 GB ทำให้สามารถแบ่งจอได้อย่างลื่นไหล จากการใช้งานส่วนตัวมันง่ายและใช้ได้จริงมากกว่าของ Samsung แอปพลิเคชันทั้งหมดจะทำงานอย่างอิสระ แถมยังปรับสัดส่วนขนาดหน้าจอได้ว่าจะให้ทำงานบนขนาดจอที่เหลืออยู่จริง หรือจะตรึงแนวระยะเดิมอะไรก็ว่าไป

screenshot_nubia-z11-9

ใช้งานได้สองบัญชีพร้อมกัน

โดยปกติแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะลง Facebook สองไอดีในเครื่องเดียวกัน แต่ความสามารถของ nubia UI 4.0 ทำให้สามารถโคลนแอปฯ ได้ด้วย (จำกัดแค่เฉพาะแอปฯ ที่รองรับ) เหมาะกับพ่อค้าแม่ขายที่มีการแยกไอดีกันทำงาน แต่น่าเสียดายที่แอปพลิเคชันรองรับยังไม่เยอะเท่าไหร่

screenshot_nubia-z11-7

กล้องระดับโปร

ความสามารถที่ได้จากเทคโนโลยี NeoVision 6.0 สามารถปลดปล่อยจินตนาการของคุณให้โลดแล่น ผนวกเข้ากับ Hardware ได้อย่างลงตัว และลูกเล่นกล้องมีดังนี้ (คัดมาแค่ส่วนหนึ่ง)

  • Multi Exposure : วัดแสงหลายจุด
  • Trajectory : ถ่ายภาพการเคลื่อนที่
  • Light Painting : ถ่ายภาพแบบวาดแสง
  • Electronic Aperture : ปรับรูรับแสงอิเลคโทรนิกส์
  • Slow Shutter : ถ่ายภาพแบบชัตเตอร์ช้า
  • Star Trail : ถ่ายภาพดาวโคจร
  • Video Maker : ตัดต่อวิดีโอ
  • DNG : เก็บภาพความละเอียดสูงคล้าย RAW
  • Clone : โคลนนิ่งสองวัตถุในภาพเดียวกัน

ยกระดับไปอีกขั้นด้วย CLM (Closed-Loop Motor) ผสานการทำงานกับ PDAF ทำให้โฟกัสได้เร็วขึ้น 200% ด้วยความเร็วเพียง 0.1 วินาที นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี DTI (Deep Trench Isolation) ที่ทำให้สีสันออกมางดงามยิ่งขึ้น และเทคโนโลยี LTM (Local Tone Mapping) เทคโนโลยีที่เพิ่มความสว่างให้กับมุมมืดของภาพ

ภาพด้านบนมาจาก Nubia Z11 Global Press Conference 2016 (IFA2016) ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของกล้อง Nubia Z11 โดยตรง (สวยดี) แต่อาจมีการจัดไฟหรือขาตั้งกล้อง ซึ่งแตกต่างจากการถ่ายด้วยโหมด Auto ที่ผมใช้ประกอบรีวิวในย่อหน้าท้ายนี้

screenshot_nubia-z11-8

ทดสอบคะแนนผ่าน AnTuTu Benchmark ได้ไป 118,598 คะแนน (คะแนนที่ผมเทสได้ต่ำกว่าที่ชาวบ้านเขาเทสกันซึ่งอยู่ที่ 137,685 คะแนน) และหากวัดกันตามมาตรฐานเท่ากับว่า Nubia Z11 จะติดอยู่ใน 10 สมาร์ทโฟนที่เร็วที่สุดในโลก เทียบเท่า Vivo Xplay 5, Galaxy Note 7 (ที่ระเบิดไปแล้ว), และ LeEco Le Max 2

Photos taken with Nubia Z11

ตัวอย่างภาพต้นฉบับสามารถคลิกไปดูได้ที่ Imgur โดยทั้งหมดที่ผมถ่ายเปิดโหมด Auto ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันไป สิ่งที่ชอบก็จะเป็นเรื่องความเร็วใจการโฟกัส ส่วนการชดเชยแสงอาจมีปัญหาบ้าง ซึ่งถ้าคุณพอมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายภาพบ้าง แนะนำให้เปิดโหมด Pro จะดีกว่า

ข้อดี

  1. ราคาถูก (มาก) เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น
  2. แรงติดอันดับ 10 สมาร์ทโฟนที่เร็วที่สุดในโลก
  3. ดีไซน์ไร้ขอบจอ วัสดุหลักเป็นอลูมิเนียม
  4. กล้องปรับแต่งได้เยอะ มีลูกเล่นเพียบ
  5. ได้หน้าจอ 5.5″ ในขนาดเครื่อง 5″

ข้อเสีย

  1. หน้าจอสีสดเกินจริงไปเยอะ
  2. การควบคุมผ่านมุมข้างจอ ยังมีพลาดอยู่บ้าง

สรุป

เป็นสมาร์ทโฟนที่มีข้อดีเยอะมากจนบรรยายไม่หมด แต่หากให้พูดความจริงก็ยังพอมีข้อเสียอยู่บ้าง (เล็กน้อย) ราคาที่จ่ายไปหมื่นกลาง ๆ ยิงกว่าคุ้มเพราะมันได้สเปคระดับตัว TOP ของแบรนด์อื่นมาเลยทีเดียว ส่วนดีไซน์ก็ไม่ได้มาแบบแข็ง ๆ เหมือนสมาร์ทโฟนทั่วไป แต่ในครั้งนี้ Nubia Z11 จัดเต็มในทุกรายละเอียด สมกับฉายาที่ผมตั้งให้คือ “สเปคแรงระดับตัว TOP ทำไมต้องจ่ายแพง”

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial