Linksys EA6350 AC1200+ Wi-Fi Gigabit Router เป็นเราเตอร์อัจฉริยะที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Beamforming ราคาถูก เร็วกว่า Wireless N ถึง 3 เท่า รองรับ 2.4 GHz (ความเร็วสูงสุด 300 Mbps) และ 5 GHz (ความเร็วสูงสุด 867 Mbps) นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับ USB 3.0 เพื่อเชื่อมต่อ External HDD ในการ Streaming ไฟล์หนังได้อีกด้วย
Linksys EA6350
เราเตอร์ Linksys EA6350 มีวางจำหน่ายแล้ว ราคา 3,990 บาท ผ่านตัวแทนจำหน่ายผู้ค้าปลีก พันธุ์ทิพพลาซ่า, ไอทีมอลล์ ฟอร์จูน, เซียร์ รังสิต, และ บานาน่าไอทีทุกสาขา
สเปค | Linksys EA6350
- ความเร็วเครือข่าย 10/100/1000 Mbps
- ระบบไร้สาย WiFi a/b/g/n/ac ความถี่ 2.4 และ 5 GHz
- เสาสัญญาณ 2 เสา (ถอดแยกไม่ได้)
- พอร์ต USB 3.0 (1), Internet, Ethernet (1-4)
- ระบบความปลอดภัย WPA2, RADIUS
- รองรับการเข้ารหัส 128-Bit
- รองรับหน่วยความจำ FAT, NTFS, และ HFS+
- ขนาด 256 x 40 x 184 มม.
- น้ำหนัก 501 กรัม
ความเร็วที่ทำได้คือ N300 + AC867 Mbps (เป็นที่มาของ AC1200+) และมาพร้อมกับเทคโนโลยี Beamforming ในการค้นหาเครื่องลูกข่ายอัตโนมัติ และยิงสัญญาณโดยตรงไปยังเครื่องนั้น เพื่อความแรงของสัญญาณ
นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ Linksys Smart Wi-Fi บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android ควบคุมสั่งงานได้สะดวกทุกที่ โดยการตั้งค่าทุกอย่างจะเป็นอย่างราบลื่นง่ายดาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องจบปริญญาสาขาวิศวกรรมเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
Adapter จ่ายไฟเป็นแบบขนาดเล็ก มาพร้อมกับหัวปลั๊กหลากหลายแบบในกล่อง
Linksys EA6350 มาพร้อมกับดีไซน์แบบใหม่ดูทันสมัยมากกว่าเดิม (หน้าตาของเก่าเชยมากขอให้ลืมไป)
ความเจ๋งของนี้คือมาพร้อมกับ USB 3.0 ที่ปราศจากคอขวดอีกต่อไป คู่ควรอย่างยิ่งกับ Wireless AC ที่มีความเร็วสูงถึง 867 Mbps โดยสามารถเชื่อมต่อกับ External HDD เพื่อทำการสตรีมมิ่งหนัง HD ภายในบ้านได้เลย ฟอร์แมตจะเป็น FAT, NTFS, หรือ HFS+ ก็ไม่มีปัญหา
ด้านล่างดีไซน์เป็นแบบโล่งระบายอากาศได้เป็นอย่างดี
หันมาดูด้านข้างก็ยังสวยงาม แต่แอบเสียดายที่เปลี่ยนเสาไม่ได้
ซอฟต์แวร์ | Linksys EA6350
ความง่ายของ “เราเตอร์อัจฉริยะ” ตัวนี้ถือว่าสมชื่อตั้งแต่การติดตั้ง แถมมีภาษาไทยให้อีก ไม่ต้องห่วงว่าซื้อมาแล้วจะตั้งค่าไม่เป็น นอกจากนี้ยังสามารถทำผ่านแอปพลิเคชัน Linksys Smart Wi-Fi บนสมาร์ทโฟนได้ด้วย (เดี๋ยวจะมารีวิวแยกอีกทีหนึ่ง)
สำหรับผู้ดูแลระบบหรือคนที่มีบ้านเล็กบ้านน้อย (เอ๊ะ! ยังไง) สามารถสร้างไอดี Linksys ได้เลยเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการผ่านสมาร์ทโฟน ของอุปกรณ์ทั้งหมดในที่เดียวกัน
เริ่มต้นสร้างไอดีด้วยการใส่ ชื่อ-นามสกุล-อีเมล์-รหัสผ่าน
เมนูทั้งหมดเป็นภาษาไทย (แถมแปลได้เข้าใจง่าย) โดยจะคุณสมบัติทั้งหมดมีดังนี้
- รายชื่ออุปกรณ์ : แสดงอุปกรณ์เครือข่ายที่ออนไลน์อยู่ในขณะนั้น
- การเข้าถึงของ Guest : สำหรับสร้างเครือข่ายไว้รับแขก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเข้าถึงแชร์ไดร์ฟของเรา
- การควบคุมของผู้ปกครอง : จำกัดเวลาการใช้งานและเว็บไซต์ที่เข้าถึง
- การจัดลำดับความสำคัญของมีเดีย : สามารถเลือกได้ว่าจะให้เครื่องไหน “เร็วพิเศษ” หรือ “ช้าพิเศษ”
- การทดสอบความเร็วเน็ต : วัดความเร็วเน็ต (ไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่)
- อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก : จัดการไดร์ฟ USB ที่เราแชร์ไว้นั่นเอง
นอกจากนี้ก็มีการตั้งค่าอะไรนิดหน่อย ตามภาษาเราเตอร์ทั่วไป แต่จุดเด่นคงอยู่ที่ความ “ง่าย” ในการตั้งค่า มีความสเถียรในการใช้งาน และนอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันให้ใช้งาน ซึ่งเราจะกล่าวถึงในตอนต่อไป
ข้อดี
- มีภาษาไทย ตั้งค่าง่าย ใช้งานง่าย
- รองรับความถี่ 2.4 และ 5 GHz
- รองรับ Wireless AC และ Beamforming
- สามารถลำดับความสำคัญของอุปกรณ์
- สามารถจำกัดการใช้งาน หรือเว็บไซต์ที่เข้าถึง
- แอปพลิเคชัน Linksys Smart Wi-Fi
- รองรับ USB 3.0
ข้อเสีย
- ราคาค่อนข้างสูงกว่าแบรนด์อื่น (แต่ถือว่าถูกสำหรับ Linksys)
- เสาไม่สามารถเปลี่ยนได้
- สัญญาณยังอ่อนไปนิด
- ไม่รองรับการทวนสัญญาณ (Repeater)
สรุป
หลายคนคงเลือกแบรนด์ Linksys เพราะความเชื่อมั่นใน Software/ROM ว่าจะมีความสเถียรในการจัดการ ไม่ค้างง่ายเหมือนแบรนด์อื่น และมันก็ทำออกมาได้ดีจริง ๆ แถมยังตั้งค่าง่าย ฟีเจอร์อาจไม่เยอะแต่เพียงพอกับการใช้งานตามบ้านทั่วไป ราคาอยู่ที่ 3,990 บาท หากใครสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ linksys2u