กระจกป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Commy Anti Radiation มีคุณสมบัติมากกว่าการป้องกันรอยขีดข่วนทั่วไป แต่ยังได้เพิ่มคุณสมบัติด้านสุขภาพไปด้วย เพราะนอกจาก “แสงสีฟ้า” จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพตาแล้ว “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” ก็เป็นอันตรายต่อสมองเช่นเดียวกัน

กระจกป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
กระจกป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

กระจกป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Commy Anti Radiation มีจำหน่ายในงาน Thailand Mobile Expo วันที่ 1-4 ต.ค. 58 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และหลังจากนั้นจะสามารถสั่งออนไลน์ได้ในเว็บไซต์ Commy4U และร้านจำหน่ายอุปกรณ์เสริมมือถือทั่วไป

Commy Anti Radiation (2)

ตอนนี้มีจำหน่ายเฉพาะ iPhone 6 และ iPhone 6 Plus ส่วนคุณสมบัติของกระจกแล้ว นอกจากจะป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ยังสามารถปกป้องหน้าจอได้อย่างดีเยี่ยมเนื่องจากเป็น Japan Asahi Glass ที่มีประสบการณ์มาช้านาน ขอบจอโค้งแบบ 2.5D และมีความบางเพียง 0.33 มม.

Commy Anti Radiation (3)

สำหรับคุณสมบัติสามารถป้องกันจากความถี่สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ได้ทั้งย่านความถี่ GSM 850, GSM 1900, WCDMA Band V1 รวมถึงย่านความถี่อื่น

  • ดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 70%
  • เคลือบผิวด้วยสารป้องกันรอยนิ้วมือ
  • พื้นผิวทนต่อรอยขูดขีดในระดับ 9H
  • วัสดุทำกระจกให้สัมผัสลื่นเป็นพิเศษ
  • กระจกลบมุมขอบ 2.5D เพื่อให้ลื่นไหล

ส่วนผลกระทบของคลื่นนอกจากจะทำให้ปวดหัว, นอนไม่หลับแล้วยังส่งผลต่ออาการผมร่วง (ในบางคน) และหากมีการรับผลกระทบไปเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมะเร็งอีกด้วย

Commy Anti Radiation (4)

ส่วนบริเวณขอบหน้าจอจะเป็นส่วนที่ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ส่วนหน้าจอทำไม่ได้ เพราะไม่งั้นจอจะต้องมืดจนมองไม่เห็น) นอกจากนั้นก็แทบไม่รู้สึกว่ามันผิดแปลกจากกระจกนิรภัยทั่วไป

Review - Commy Anti Radiation (5)

ความบางเพียง 0.33 มม. ทำให้คุณสามารถสัมผัสหน้าจอได้อย่างลื่นไหล และที่สำคัญติดตั้งได้ง่ายกว่าฟิล์มใสธรรมดาทั่วไป

Review - Commy Anti Radiation (6)

สำหรับการรีวิวในครั้งนี้จะทดสอบกับ iPhone 6 ครับ แน่นอนว่าผมเองก็เป็นเพียงผู้ใช้งานทั่วไป ไม่ได้มีประสบการณ์ติดฟิล์มแต่อย่างใด

Review - Commy Anti Radiation (7)

ขั้นแรกแนะนำให้อยู่ในห้องปิดที่ไม่มีลมหรือฝุ่นมากนัก ทำการเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นก็ดึงฝุ่นออกจากหน้าจอด้วยแผ่นสติ๊กเกอร์ที่ได้มา

Review - Commy Anti Radiation (8)

ตรงช่วงนี้แนะนำให้ว่าค่อย ๆ ทำตั้งแต่หัวเครื่องไปจนท้ายเครื่อง (แต่ถ้าสติ๊กเกอร์เสียก็แนะนำให้ใช้สก็อตเทปทั่วไปแทนได้)

Review - Commy Anti Radiation (10)

ค่อย ๆ เล็งตำแหน่งที่จะวางกระจกนิรภัย โดยวัดจากปุ่ม Home และช่องลำโพงสนทนา เมื่อมั่นใจแล้วให้ค่อย ๆ วางลงไปอย่างมั่นใจ

Review - Commy Anti Radiation (11)

การเริ่มวัดจากส่วนบนของเครื่องจะง่ายกว่ากันมาก ที่เหลือคุณก็เพียงแค่เล็งไม่ให้มันเบี้ยวเท่านั้น โดยเริ่มไล่ฟองอากาศจากตรงกลางเป็นต้นไป

Review - Commy Anti Radiation (15)

การไล่ฟองอากาศไม่ยากเลย เพราะมันจะค่อย ๆ รีดอากาศออกเองอัตโนมัติ หลังจากนั้นจึงเอาผ้าที่ได้มาค่อย ๆ ถูไปเรื่อย ๆ เพียงเท่านี้ก็เป็นที่เรียบร้อย

Review - Commy Anti Radiation (16)

ความหนาของกระจกเมื่อมองจากด้านข้าง ถือว่าผิดแปลกไปจากกระจกนิรภัยทั่วไป และข้อดีอีกประการก็คือการใช้กระจกนิรภัยแบบนี้จะเลือกสีได้ด้วย หากใครเบื่อสีของไอโฟนของตัวเองอาจเลือกติดแบบผมก็ได้ครับ

Review - Commy Anti Radiation (17)

เรื่องแสงและสีของหน้าถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อสัมผัสหน้าจอแล้วลื่นไหล และถึงแม้ผมเองจะไม่มีเครื่องมือวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ตาม แต่ในต่างประเทศก็มีการวิจัยอย่างจริงจังเกี่ยวกับ ผลกระทบจากคลื่นมือถือ ซึ่งถึงแม้ว่าผลการวิจัยในตอนนี้ยังไม่อาจฟันธงได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าเลือกที่จะ “เสี่ยง” หรือเลือกที่จะ “ปลอดภัยไว้ก่อน” มากกว่า

ข้อดี

  1. ดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  2. เคลือบผิวด้วยสารป้องกันรอยนิ้วมือ
  3. พื้นผิวทนต่อรอยขูดขีดในระดับ 9H
  4. วัสดุทำกระจกให้สัมผัสลื่นเป็นพิเศษ
  5. กระจกลบมุมขอบ 2.5D เพื่อให้ลื่นไหล

ข้อเสีย

  1. ยังยืนยันไม่ได้ 100% ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อร่างกาย

สรุป

เป็นกระจกนิรภัยอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากจะสามารถกันรอยทั่วไปได้อย่างดี ยังมีการเพิ่มมูลค่าด้วยคุณสมบัติป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ใครที่เป็นคนรักสุขภาพไม่ควรพลาดเรื่องนี้ครับ เพราะขนาดคลื่นไมโครเวฟยังทำให้อาหารสุกได้ คลื่นบนมือถือถึงแม้จะเล็กน้อยแต่ถ้าแนบหูทุกวัน วันละหลายชั่วโมงจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพเชียวหรือ?

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial