ทุกสิ้นเดือนตามห้างสรรพสินค้ามักจะเต็มไปด้วยผู้มาต่อคิวใช้งานธนาคาร (รวมถึงตู้อัตโนมัติ) ส่วนใหญ่ก็จะเป็นบริการพื้น ๆ เช่น โอนเงิน, จ่ายบิล, จ่ายบัตร ซึ่งมันก็ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปเสียเวลาต่อคิวกันนาน ๆ เพื่อทำธุรกรรมง่าย ๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอน แต่หลายคนกลับกลัว Internet Banking และในวันนี้เราจะมาอธิบายการทำงานของมันกัน ซึ่งมนุษย์เราถ้าหากได้รู้แล้วก็จะเลิกกลัวไปในที่สุด

Internet Banking

ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ จาก ธนาคารกรุงศรี ที่ผมใช้บริการอยู่เป็นประจำในการอธิบายก็แล้วกันปกติ Internet Banking ทางธนาคารจะเน้นความปลอดภัยที่สูงมากเป็นสิ่งสำคัญ และก็จะทำให้ทุกอย่างง่ายเป็นสิ่งรองมา บางคนเลือกที่จะฝากเงินไว้ในธนาคารแต่กลัวทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งจะทำบัตร ATM (แต่เดี๋ยวนี้คนกลัวทำบัตร ATM ไม่น่าจะเหลือแล้วเพราะเราเข้าใจมันมากขึ้น)

Internet Banking ก็ไม่ต่างกันหากเราเข้าใจมันมากพอ ซึ่งผมจะสรุปตาม Infographic เป็น 4 หัวข้อหลักตามนี้

  1. ต้องใช้ User และ Password ทุกครั้งที่ใช้งาน – ก็เหมือนกับที่เราใช้งาน E-Mail หรือแม้กระทั่ง Social Network นั่นแหล่ะ … ของใครของมัน ซึ่งถ้าให้คุณเดาของผมมันก็ไม่มีวันเดาถูก หรือถ้าให้ผมเดาของคุณมันก็ไม่มีวันเดาถูกอีกเช่นกัน (แถมการเดายังมีการจำกัดจำนวนครั้งให้เดาอีกต่างหาก)
  2. มีการเข้ารหัสข้อมูลด้วย SSL ระดับ 128 บิต – เป็นโปรโตคอลความปลอดภัยชนิดหนึ่งซึ่งใช้กันทั่วโลก (มันค่อนข้างวิชาการดังนั้นคุณไม่ต้องรู้จักมันมากก็ได้) หลักการทำงานก็คือการตรวจสอบ Server ว่าเป็นตัวจริง, การตรวจสอบว่า Client เป็นตัวจริงหรือไม่, การเข้ารหัสลับการเชื่อมต่อ, ช่วยให้ป้องกันการดักจับข้อมูลบน Network ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะดักจับข้อมูลของเรา ถามว่ายากแค่ไหนหรอ? ก็ลองหยิบมือถือระบบเติมเงินมาแล้วลองสุ่มรหัสเติมเงินดู ถ้าผลออกมาคือ “เป็นไปไม่ได้หรอก” ผมอยากจะบอกว่า SSL 128-Bit ยากกว่านั้นชนิดที่ว่าจินตนาการกันไม่ออกเลยทีเดียว
  3. มี One Time Password (OTP) – คือเมื่อเราจะทำธุรกรรมอะไรซักอย่างเช่นโอนเงินเนี่ย หลังจากที่ฝ่าด่านได้ User และ Password ของเรามาได้เลย (สมมุติว่าเป็นภรรยาผู้รู้ทุกอย่างของสามีก็แล้วกัน ดันเผลอจดใส่กระดาษแล้วทำหาย) การที่จะทำธุรกรรมทุกครั้งจะมีการส่งรหัสแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาที่ SMS มือถือของเรา ซึ่งถ้าผู้ไม่หวังดีจะทำธุรกรรมอะไรล่ะก็มันจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรหัสที่ได้จาก SMS บนมือถืออยู่ที่เรา (รหัสนี้ตั้งเองไม่ได้และจะถูกสุ่มจากระบบเองทุกครั้งที่ทำธุรกรรม)
  4. มีการ Log out จากระบบอัตโนมัติหากไม่มีการใช้งานเกิน 15 นาที – เป็นความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่งสมมุติเรากำลังใช้ Internet Banking บนคอมฯ ที่ทำงานอยู่แล้วบังเอิญมีประชุมด่วนทำให้ต้องลุกจากโต๊ะไปแบบเผลอ Log out ทันทีที่ครบ 15 นาทีโดยที่เราไม่ได้ทำอะไรเลยระบบจะ Log out ให้โดยอัตโนมัติครับ ก็ถือว่าปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง

เพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณอุ่นใจได้แล้วสำหรับการทำธุรกรรมบน Internet Banking ขอให้ลืมความเชื่อแบบเก่า ๆ เหมือนในหนังที่ว่ามี Hacker เปิดคอมฯ มากดปุ่มสองสามปุ่มเจาะเข้าธนาคารแล้วดูดเงินจากบัญชีมาจนหมดตัว แบบนั้นชีวิตจริงมันไม่มีหรอกครับ (ฮา)

ส่วนใหญ่ที่เป็นข่าวกันในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับ Internet Banking ทั้งหลายแหล่ … ไม่เคยมีซักครั้งเลยที่เป็นเพราะระบบหรือธนาคารเอง ที่เป็นข่าวทั้งหมดเกิดจากความสะเพร่าของผู้ใช้งานเองทั้งนั้น เช่น จดรหัส User และ Password ไว้ในสมุด (แล้วคนใกล้ตัวเนี่ยแหล่ะเอาไป) หรือโดนหลอกลวงทางโทรศัพท์เพื่อขอรหัส User และ Password รวมถึง OTP ซึ่งส่วนใหญ่จะโดนประมาณนี้ทั้งนั้น แต่ถ้าหากใครอยากอ่านรายละเอียดคำแนะนำเต็ม ๆ จากธนาคารก็อ่านได้ ที่นี่

Mobile Internet Banking

นอกจาก Internet Banking ทีนี้เรามารู้จักกับ Mobile Banking กันครับ ซึ่งไม่มีอะไรต่างเลยกระบวนการทุกอย่างเหมือนกันหมด แต่ทีนี้มาอยู่เป็น App บนมือถือแทนซึ่งทุกธนาคารก็จะมีเหมือนกันหมด (แต่ฟีเจอร์และฟังก์ชั่นจะต่างกันไปและแต่ว่าธนาคารไหนใส่ใจทำให้ลูกค้าได้มากกว่า)

เห็นเสียงลือเสียงเล่าอ้างมาว่าถ้าใช้งานตอนนี้จ่ายบิลไม่เสียค่าธรรมเนียมแบบไม่อั้นฟรีถึง 3 เดือนด้วยนะ สำหรับความสามารถของ App ก็จะมี

  • เช็ควงเงิน และตรวจสอบทุกการใช้จ่ายแบบ Real time
  • จ่ายทุกบิล ชำระทุกบัตรเครดิตในเครือกรุงศรีได้ในพริบตา
  • คลิกเดียวสู่โลกการลงทุน ทำกำไรได้ ทุกที่ทุกเวลา
  • ซื้อขาย สับเปลี่ยน อัพเดทพอร์ตกองทุนรวมต่างๆได้ทันที
  • ตรวจสอบหุ้นและชำระค่าวางหลักประกัน ของหลักทรัพย์กรุงศรี
  • ตรวจสอบทะเบียนรถ ชำระค่าต่อทะเบียนและค่าบริการต่างๆ ของกรุงศรีออโต้
  • เท่าทันทุกอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก
  • อัพเดทโปรโมชั่นร้านค้า ร้านอาหารใกล้ตัวได้ทันที
  • ตั้งเตือนรายการโอน-จ่าย ได้ล่วงหน้า
  • และอื่นๆ

สะดวกกว่าไปหน้าตู้หรือธนาคารเห็น ๆ ไม่ต้องทนร้อนเดินตากแดดไปอีกหลายช่วงตึก (หากแถวนั้นหาไม่ได้) และที่สำคัญคือไม่ต้องต่อคิวให้เสียเวลา

App Internet Banking

ตัว App ค่อนข้างใช้งานได้ง่ายและมีความสามารถหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการตั้งโอน, แจ้งเตือน, ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยน, ค้นหาสถานที่ตั้ง ATM (เพื่อไปกดเงินจริงมาใช้) แนะนำให้ลองใช้ด้วยตัวเองครับ แล้วจะพบว่าระบบถูกออกแบบมาได้ปลอดภัยแบบสมบูรณ์แบบจริง ๆ หากมองในแง่ความปลอดภัยผมกลับรู้สึกอุ่นในกว่าเดินไปหน้าตู้เสียอีก นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องความสะดวกล้วน ๆ เลย

สรุป

มันถึงเวลาแล้วครับที่ทุกคนควรจะ “ต้อง” ใช้งาน Internet Banking เสียแล้ว นึกถึงตอนสมัย ATM เข้ามาในไทยใหม่ ๆ ที่ธนาคารแทบจะต้องไล่แจกบัตรกันเลยทีเดียว เนื่องจากลูกค้าหลายคนยังมีความกลัวและชินกับการถอนด้วยสมุดอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน สาวโรงงาน หรือแม้แต่แม่ค้าตามตลาดก็ต้องใช้ ATM กันหมดแล้ว (ขืนเอาสมุดไปรอถอนรอฝากวันนึงคงไม่ต้องทำมาหากินกันพอดี) และต่อไปก็คือ Internet Banking ผมว่าทุกคนควรจะต้องใช้มันจริง ๆ

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial