เชื่อว่าหลาย ๆ คนเมื่อในครั้งอดีตคงจะติดใจและชื่อชอบแบรนด์ Sony ไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากเรื่องวัสดุและคุณภาพของมัน ถึงแม้ในทุกวันนี้ SONY จะเปลี่ยนจุดยืนไปมากมีผลิตภัณฑ์ที่รองรับกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น (มีทั้งรุ่นล่างและรุ่นบน) แต่สำหรับเรื่องมือถือ Sony Ericsson ล่ะ? คุณให้ความเชื่อมั่นมากแค่ไหน? โดย ณ วันนี้ Sony ซื้อกิจการมาอย่างเต็มตัวแล้ว โดยใช้มือถือที่มีชื่อว่า Sony เฉย ๆ นั่นเอง

Sony-Xperia-P-5

นอกจากรุ่น Xperia P แล้วยังมีรุ่นลูกพี่ลูกน้องอย่าง Xperia S และ Xperia U อีกด้วย โดย Xperia P ที่เราจะมารีวิวกันในวันนี้เดิมทีเป็น Xperia Neo ที่ถูกอัพเกรดขึ้นมานั้นเอง

Sony-Xperia-P-11

สเปคอย่างคร่าว ๆ
• กล้อง 8MP
• หน่วยประมวลผล Dual Core 1Ghz RAM 1GB
• หน่วยความจำในเครื่อง 16GB (ไม่รองรับหน่วยความจำภายนอก)
• รองรับ NFC
• หน้าจอความละเอียด qHD (960 × 540 พิกเซล)
• ขนาดหน้าจอ 4″
• รองรับการถ่าย VDO 1080P
• ชาร์จ 10 นาที สามารถสนทนาได้ 60 นาที

Sony-Xperia-P-25

สำหรับตัว Sony Xperia P นั้นดูเหมือนว่าจะเป็น Android ระดับกลาง ๆ ที่ทำออกมาเจาะตลอด ซึ่งราคาก็จะไม่สูงมากนักอยู่ที่ 14,990.- แต่ได้แบรนด์ Sony ก็ทำให้รู้สึกดีไม่น้อย (ไม่รู้จะมีใครคิดเหมือนผมมั้ย)

Sony-Xperia-P-26

ดีไซน์นั้นยังเน้นความเรียบแล้วเงียบขรึมตามสไตล์ของ Sony ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกล่องหรือว่าตัวเครื่องเองก็ตาม

Sony-Xperia-P-6

อุปกรณ์ทั้งหมดที่แถมมาในกล่องจะเป็นดั่งภาพครับ มาตรฐานมือถือทั่ว ๆ ไป แต่คู่มือค่อนข้างเยอะหน่อย

Sony-Xperia-P-7

Adapter สำหรับชาร์จไฟ ขนาดใหญ่เล็กน้อย ตามความเห็นของผม

Sony-Xperia-P-8

สาย Micro USB ดูแข็งแรงดี ที่สำคัญมีตัวกันสัญญาณรบกวนให้ด้วย

Sony-Xperia-P-10

หูฟังที่แถมมาเป็นแบบ Inear ช่วยให้เสียงดีกว่าหูฟังบางเจ้า สำหรับการทดสอบฟังเสียงดูก็ค่อนข้างโอเคระดับหนึ่งครับ

Sony-Xperia-P-9

มีแต่ปุ่มรับสาย ไม่มีปุ่มสำหรับปรับเสียงนะ (น่าเสียดาย)

Sony-Xperia-P-12

จุดเด่นของ Sony Xperia P ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยี Sony Mobile BRAVIA Engine และ WhiteMagic ที่ช่วยให้ได้ภาพที่สมจริงและถ่ายภาพได้สว่างสวยงามโดยไม่มืด ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของ Sony และยังมีอยู่ในโทรทัศน์อีกด้วย นอกจากนี้เทคโนโลยีเดิมที่เคยอยู่ในเครื่องเล่น MP3 ก็ได้ใส่มาด้วยซึ่งนั่นก็คือ “ชาร์จ 10 นาที ใช้สนทนาได้ 60 นาที” (ชาร์จเร็วนั่นเอง)

ดีไซน์ดูเหลี่ยมและคมสไตล์ของ Sony ดูล้ำยุคและหรูหรา

Sony-Xperia-P-13

ด้านล่างจะเป็นโลโก้ Xperia ส่วนตรงปุ่มสัมผัสนั้นจะเป็นแบบใส ๆ ครับ ให้อารมณ์ไปอีกแบบ (มีไฟสีน้ำขึ้น 3 ดวงด้วย)

Sony-Xperia-P-27

Sony เฉย ๆ ไม่ใช่ Sony Ericsson อีกต่อไปแล้ว (ดีจัง)

Sony-Xperia-P-24

กล้องด้านหลังดีไซน์เหมือนสัญลักษณ์ต่างดาว (ลองนึกถึงโลโก้ Walkman) ตำแหน่งกล้อง 8MP อยู่ตรงกลางพร้อมแฟลช LED 1 ตัวเล็ก ๆ

Sony-Xperia-P-28

ด้านข้างพร้อมต่อ Mini HDMI และสาย Micro USB เป็นแบบเปิด ๆ ไม่มีอะไรปิดกั้น

Sony-Xperia-P-14

ปุ่มสำหรับถ่ายภาพซึ่งไม่ค่อยถนัดซักเท่าไหร่นัก

Sony-Xperia-P-29

ถัดขึ้นไปจะเป็นปุ่มปรับเสียงและปุ่มล็อคเครื่อง (ไม่ถนัดกว่าเดิมอีก)

Sony-Xperia-P-15

ด้านบนจะเป็นแจ็คสำหรับเสียบหูฟังครับ ออกแนวเยื้อง ๆ นิด ๆ

Sony-Xperia-P-16

ด้านหลังเครื่องโดยรวม ดีไซน์ยังดูเป็นผู้ใหญ่และเรียบหรูสไตล์ Sony เหมือนเดิม แต่สำหรับมือถือเครื่องนี้นั้นมีความแปลกอยู่อย่างนึงคือ ไม่สามารถใช้กับแบตเตอรี่สำรอง (Power Bank) ได้ ซึ่งตรงนี้ตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นเครื่องผมคนเดียว แต่เทสกับคนอื่นก็ไม่ได้ เปลี่ยนสาย Micro USB แล้วก็ยังไม่ได้ แปลกมาก ๆ เลยคิดว่า Sony จำกัดอะไรไว้ซักอย่าง เพื่อให้ใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ของตน (ใครมีลองดูได้ครับ ชาร์จไม่เข้าจริง ๆ)

Sony-Xperia-P-17

ตัวนี้มาพร้อมกับ Android 2.3.7 (อัพเกรดล่าสุด 09/07/55) แต่สำหรับรุ่นนี้จะสามารถอัพเป็น Android 4.0 ics ได้เร็ว ๆ นี้ครับ

Sony-Xperia-P-18

ตัวนี้รองรับเทคโนโลยี NFC ด้วยนะ ถึงแม้จะไม่ค่อยได้ใช้งานซักเท่าไหร่ก็ตาม (เกินดีกว่าขาด)

Sony-Xperia-P-19

ฝาครอบตรงนี้สามารถถอดออกได้ด้วยนะครับ (ไม่รู้จะให้เปลี่ยนกรอบได้หรือยังไง – -*) สำหรับวัสดุนั้นฝาครอบจะเป็นพลาสติก ซึ่งถ้าหากขูดขีดก็สามารถที่จะสีลอกได้ครับ (แต่สีใกล้เคียงกันไม่ค่อยน่าเกลียด) แต่วัสดุด้านหลังจะเป็นอลูมิเนียมครับ

Sony-Xperia-P-20

ไฟใต้เครื่องครับเวลาใช้งานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เลยทีเดียว สำหรับงานประกอบโดยรวมนั้นคงต้องขอบอกว่าอาจจะไม่ค่อยแน่นเป๊ะซักเท่าไหร่ ซึ่งค่อนข้างผิดหวังกับ Sony เล็กน้อย แต่หน้าจอสีอิ่มดีครับไม่สดเวอร์เหมือนบางค่อย ของ Sony นั้นดูเหมือนจะออกแนวธรรมชาติและสมจริงเหมาะกับการดูหนังมากกว่า

Sony-Xperia-P-21

ซิมที่ใช้ในมือถือตัวนี้นั้นเป็นแบบ Micro Sim สามารถเสียบได้เลยโดยไม่ต้องแกะฝาเครื่อง (ซึ่งมันแกะไม่ได้และเปลี่ยนแบตเตอรี่ไม่ได้อยู่แล้ว)

Sony-Xperia-P-30

การถ่ายภาพสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย ซึ่งสามารถใช้ถ่ายเป็นพาโนราม่าแบบ 3D ได้ด้วย (ไม่รู้เหมือนกันว่าใช้เทคนิคไหน) ซึ่งถ้าหากจะชมภาพต้องดูกับจอ 3D เท่านั้นครับ ซึ่งมือถือตัวนี้ไม่ใช่จอ 3D ส่วนกล้องนั้นสามารถถ่ายภาพได้ไวมาก ๆ นั่นก็คือแตะเพื่อโฟกัสจากนั้นก็ถ่ายเลย (แรก ๆ ก็ไม่ชิน แต่พอใช้ซักพักจะชอบครับ)

Sony-Xperia-P-22

การถ่าย VDO สามารถบันทึกได้ถึงความละเอียด 1080P ภาพค่อนข้างนิ่งและไม่สั่นไหว ส่วนสีค่อนข้างสมจริงครับ ถือว่าดีมาก ๆ ในระดับมือถือด้วยกัน (และแน่นอนว่ามันสู้กล้อง VDO โดยเฉพาะไม่ได้อยู่แล้ว)

ตัวอย่างภาพถ่ายจาก Sony Xperia P

Sony-Xperia-P-1

ทดสอบถ่ายในสภาพแสงสว่างจ้าภายในตัวอาคาร เก็บรายละเอียดได้ค่อนข้างดีทีเดียวครับ

Sony-Xperia-P-2

ที่ประทับใจอีกอย่างก็คือการถ่ายภาพพาโนราม่าของ Sony Xperia P สามารถทำได้ดีถึงดีมากนั่นเอง รอยต่อระหว่างภาพแทบจะไม่เห็นเลย ตรงส่วนนี้ประทับใจมากครับ

Sony-Xperia-P-3

ภาพท้องฟ้าและบรรยากาศภายนอกอาคารก่อนช่วงฝนจะตก

Sony-Xperia-P-23

ไฟหลอดสีส้มภายในอาคาร ค่อนข้างคมชัดและสวยดี

Sony-Xperia-P-4

ลองถ่ายระยะใกล้ดูบ้างครับ เรื่องสีสันนี่โอเคเลยทีเดียว สมกับเป็น Sony คือธรรมชาติ คมชัด ไม่สดและไม่เวอร์จนเกินไป

ข้อดี
1. หน้าจอสวยงามด้วยเทคโนโลยี Mobile BRAVIA Engine และ WhiteMagic
2. กล้อง 8MP พร้อมถ่ายวีดีโอระดับ Full HD (1080P)
3. รองรับ NFC (Near Field Communication)
4. ใช้ 3G ได้ทุกเครือข่าย
5. เมมโมรี่ 16GB ในตัวเครื่อง

ข้อสังเกต
1. วัสดุที่ใช้ไม่ค่อยแข็งแรง
2. ไม่ได้มาพร้อม Android 4.0 ics จากโรงงาน
3. เพิ่ม Micro SD ไม่ได้
4. ถอดแบตเตอรี่ไม่ได้
5. ใช้แบตเตอรี่สำรองไม่ได้ (ลองกับ Innergie และ Yoobao ไม่ได้ทั้งคู่)

สรุป
เป็นเครื่องที่โดยรวมแล้วเหมาะสมกับคำว่า Sony คือเขามีจุดยืนของเขา มีกลุ่มลูกค้าของเขา พวกแข็งของมันก็แข็งจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Sony ต่าง ๆ ที่แบรนด์อื่นไม่มี ไม่ว่าจะเป็น Mobile BRAVIA Engine และ WhiteMagic หรือจะเป็นแม้กระทั่งการชาร์จ 10 นาที สามารถสนทนาได้ 60 นาทีก็ตาม หากคุณเป็นคนชอบความแตกต่าง เบื่อการมอง Android ที่สเปคกระดาษ ก็ลองหันมาใช้ Sony ดูสิครับแล้วจะพบความแตกต่างที่แบรนด์อื่นไม่มี