fbpx
Article

วิวัฒนาการระบบไฮดรอลิกกับรถแทรกเตอร์ที่ใช้กับงานด้านการเกษตร

8
Dirty Oil Blog - 1

หากพูดถึงหนึ่งในเครื่องทุ่นแรงสำคัญที่ถูกนำมาใช้กับงานด้านการเกษตรมาอย่างยาวนานต้องบอกว่า “รถแทรกเตอร์” คือสิ่งที่เกษตรกรทุกคนคุ้นเคยกันดี แต่กว่าที่คุณภาพการทำงานจะทันสมัยเหมือนในปัจจุบันนี้ต้องย้อนกลับไปในยุคที่ยังเป็นระบบทั่วไปจนกระทั่งเริ่มนำเอา “ไฮดรอลิก” เข้ามาเป็นตัวช่วยของการทำงานเพื่อสร้างมาตรฐานชั้นยอด เพิ่มความสะดวก ง่ายดาย และยังมีส่วนในการพัฒนารถแทรกเตอร์ให้เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดดอีกด้วย

Dirty Oil Blog - 1

วิวัฒนาการระบบไฮดรอลิกกับรถแทรกเตอร์

หากย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการผลิตรถแทรกเตอร์ขึ้นมาใช้งานต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ ไม่ได้สมบูรณ์แบบเนื่องจากระบบการทำงานแทบทั้งหมดยังใช้กลไกมนุษย์เป็นหลัก ส่งผลให้งานออกมาล่าช้า แต่แลกมาด้วยความเหนื่อยล้าอย่างมาก กระทั่งช่วง ค.ศ. 1922 ระบบไฮดรอลิกได้ถูกเริ่มนำมาติดตั้งกับรถแทรกเตอร์ในเรื่องการหันเลี้ยวสำหรับรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ประเภทหันเลี้ยวกลางตัว จากนั้นจึงค่อย ๆ ถูกพัฒนาด้วยการนำไฮดรอลิกใช้กับการยก-วางเครื่องพ่วงท้าย 

ซึ่งตรงส่วนนี้เองได้ถูกพัฒนาจนเกิดความทันสมัยแบบก้าวกระโดดถึงขนาดปรับปรุงระบบยก-วางเครื่องพ่วงท้ายชนิดต่อพ่วง 3 จุด ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบไฮดรอลิก และได้กลายเป็นระบบสำคัญสุดของรถแทรกเตอร์เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีของการทำงาน ได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจ

ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1941 – 1949 ระบบไฮดรอลิกได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับใช้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ และระบบอื่น ๆ ของรถแทรกเตอร์ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนด้านในตัวรถหรือด้านนอกก็ตาม เช่น การส่งกำลังเครื่องยนต์ การบังคับเลี้ยว การเบรก การเปลี่ยนเกียร์ การล็อกเฟืองท้าย การใช้เพลารถ รวมถึงการใช้ความดันจากกระบอกไฮดรอลิกเพื่อช่วยให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น การกลับไถ การบังคับความลึก การยกเท หรือปรับใบมีดันดินด้านหน้า ฯลฯ 

ความทันสมัยของระบบไฮดรอลิกในรถแทรกเตอร์ยุคปัจจุบัน

เมื่อระบบไฮดรอลิกเข้ามามีบทบาทกับรถแทรกเตอร์มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปัจจุบันนี่เป็นอีกปัจจัยสำคัญของเหล่าเกษตรกรว่าจะเลือกซื้อเพื่อใช้งานดีหรือไม่ เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าลองประเมินดูแล้วผู้ผลิตรถแทรกเตอร์เองก็ยังคงอัปเดตนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างความพึงพอใจ ความสะดวกสบายต่อตัวผู้ใช้งาน รวมถึงยังมีการดัดแปลงเพิ่มเติมผ่านการใช้เทคโนโลยีอันแสนทันสมัย

ปกติรถแทรกเตอร์สามารถใช้ความเร็วสูงสุดประมาณ 50 กม. / ชม. ซึ่งการส่งกำลังเครื่องยนต์ได้มีการนำเอาระบบไฮดรอลิกเข้ามาใช้ในระบบที่เรียกว่า “ไฮโดรสเตติก” (Hydrostatic Drive) ส่งผลให้การเปลี่ยนเกียร์สะดวก ง่ายดาย ไม่ต้องยุ่งยากกับการเหยียบคลัทช์ก่อนเข้าเกียร์ นั่นทำให้การเข้าเกียร์รถเกิดความสมดุล ต่อเนื่อง ไม่ต้องรอจังหวะเหมือนกับรถแทรกเตอร์ยุคก่อน ๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบเดิมรถมักต้องชะลอหรือหยุดเป็นช่วงจากการเปลี่ยนเกียร์แต่ละรอบ 

อีกความเหนือระดับของรถแทรกเตอร์กับระบบไฮดรอลิกนั่นคือ การพัฒนารถแบบไร้คนขับสำหรับใช้ในการพ่นสารเคมี ไปจนถึงการนำเอาระบบ GPS ก็ยิ่งกลายเป็นความสะดวก ง่ายดาย และตอบโจทย์กับโลกในยุคใหม่ได้อย่างไร้ที่ติ ยังไม่นับรวมกับระบบเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบชนิดของดินเพื่อปรับรูปแบบการไถให้เหมาะสม รู้ค่าความชื้น สารอาหารและแร่ธาตุในดิน ระดับความลึกของการไถ อัตราความเร็วที่เหมาะสม ไปจนถึงวิธีปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี เป็นต้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะบอกว่าทุกวันนี้รถแทรกเตอร์ได้ก้าวล้ำไปอีกขั้นแต่ก็ยังมีระบบไฮดรอลิกเข้ามาเป็นส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน 

สรุป

วิวัฒนาการของรถแทรกเตอร์กับระบบไฮดรอลิกถือเป็นสิ่งที่ทำมาควบคู่กันเพื่อสร้างความสะดวก ง่ายดาย และผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจต่อผู้ใช้งานมากที่สุด เกษตรกรเองก็ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงยังลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานในแต่ละวันลงได้เยอะมาก ยิ่งยุคปัจจุบันก็มีการนำเอาระบบอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อทำให้งานออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุด จึงนับเป็นเรื่องดีที่สิ่งเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของตนเอง ตอบโจทย์ความคุ้มค่าเมื่อตัดสินใจลงทุน มีสิ่งดี ๆ ตามมาอีกมากมาย

หมายเหตุ – บทความนี้เป็น Advertorial