สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกท่าน วันนี้ผมจะมารีวิวเปรียบเทียบ SSD ในระดับเริ่มต้นราคาถูกมาก ระดับกลางๆ เทียบกับระดับท็อปราคาสูงสุดใน Interface Sata สาหรับตลาดทั่วไป (ไม่เฉพาะทาง) และยังจะมีแถม Review SSD Caching เทียบให้ด้วย ซึ่งพบได้ใน Notebook บางรุ่นหรือสามารถเทียบได้กับ SSHD ครับ

a5

การทดสอบจะเป็นรีวิวแบบบ้านๆ เน้นการใช้งานของคนทั่วไป ไม่เน้นเฉพาะทางอะไรมากมายนะครับ ท่านที่สนแค่การใช้งานสามารถข้ามไปอ่านกลางๆ รีวิวได้เลยครับ แรกๆ อาจจะมีเกริ่นถึง Spec ของแต่ละตัว อธิบาย Controller แต่ละตัว และรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละยี่ห้อนิดหน่อยครับ

ซึ่ง SSD ที่จำนำมารีวิวเทียบกันวันนี้ได้แก่

  1. Transcend 720 128 GB
  2. Transcend 340 128 GB
  3. Samsung 840 Pro 128 GB

และ Mini SSD card ของ Toshiba ขนาด 8 GB เพื่อรีวิว SSD caching ต่อท้ายรีวิวนี้ครับ

ทดสอบบน PC ที่มีสเปคดังนี้ครับ

  • CPU Intel i7 3770
  • Ram 8 GB
  • Chipset Intel Q77

g4

Windows 8.1 ที่มี Configuration เหมือนกันทุกประการผ่านการใช้งานมาช่วงหนึ่งเพื่อดูว่าประสิทธิภาพของแต่ละตัวจะเป็นอย่างไร

Clone ผ่านโปรแกรมที่แถมมาของ Transcend (จะรีวิวแนบท้ายด้านล่างครับ) เพื่อทดสอบว่าโคลนใช้งานจริงได้สมบูรณ์ไหม เผื่อใครอยากซื้อแต่ไม่อยากลง Windows ใหม่ครับ ว่าจะสมบูรณ์ไหมครับ

โดยทั้ง 3 ตัวนี้มีราคาประมาณนี้ครับ

  1. Transcend 340 128 GB ราคาต่างประเทศ (เนื่องจากยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ) ประมาณ 2,800 – 3,000 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง
  2. Transcend 720 128 GB ราคาต่างประเทศ (เนื่องจากยังไม่มีจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการ) ประมาณ 3,500 – 3,900 บาท ไม่รวมค่าขนส่ง
  3. Samsung 840 Pro 128 GB ราคาในไทย ประมาณ 4,500 – 4,800 บาท ครับ

*Transcend อาจจะเป็นยี่ห้อที่ไม่คุ้นหูนักสำหรับ SSD ในเมืองไทยเพราะไม่มีตัวแทนเอาเข้ามาขาย แต่บริษัทนี้ดังใช้ได้ครับสำหรับผลิตภัณฑ์ Memory ต่างๆ ของพี่แกก็จัดว่าผลตอบรับดี ใช้ดีซะส่วนมากครับ เปิดมานานตั้งแต่ยุค 198x แล้วครับ

โดยนี่คือรูปภาพของทั้ง 3 ตัวนี้ครับ

a3a4

สัมผัสของตัวสินค้า 3 ตัวนี้่นะครับ

Transcend ทั้ง 2 ตัวนั้นวัสดุเป็นพลาสติคครับ สัมผัสเหมือน SSD ทั่วไปครับ ถ้าวางไว้ไม่รู้นี่อาจจะคิดว่าราคาถูกกว่า HDD เพราะสัมผัสพลาสติคมากจริงๆ ครับ

Samsung 840 Pro นั้นตัววัสดุเป็นโลหะและมีขอบโครเมียมสวยงามสมราคาเลยทีเดียวครับ
แต่อย่างว่าครับ SSD ซื้อมาใช้ไม่ใช่เอามาใส่เป็นนาฬิกาข้อมือ ส่วนนี้ผมจึงไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่ครับ ถ้า Samsung จะลดวัสดุภายนอกลงแล้วลดราคาลงสัก 500 ผมจะยินดีมากครับ

มาต่อที่เรื่องสำคัญอย่าง Specification กันดีกว่าครับ เอาสเปคเรื่องขนาดก่อน ทั้ง 3 ตัวเหมือนกันครับ คือ เป็น SSD ขนาด 2.5″ “7mm” สามารถเอาไปใส่ Notebook บางๆ ได้ครับ

* เรื่องขนาดของ SSD ในท้องตลาดจะมีขนาด 2.5″ 7mm และ 2.5″ 9.5mm เป็นหลักครับ และจะมีขนาดบางพิเศษสำหรับกรณีพิเศษคือ 5mm อีกแบบครับ ซึ่งพวกราคาถูกๆ ส่วนมากจะมีขนาด 9.5mm ครับ พวก 7mm ส่วนมากจะพบเจอในรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมาอีกหน่อยครับ

จากนั้นมาว่ากันต่อเรื่อง Spec ภายในกันครับ
เริ่มที่เรื่องของ NAND Flash (ชิปความจำของ SSD ครับ หนึ่งในส่วนประกอบหลักที่บ่งบอกความทนทานของ SSD ครับ)

ทั้ง 3 ตัวใช้ NAND แบบ MLC ครับ (เป็น Toggle ทั้งหมดครับ สำหรับเซียนๆ ที่อาจจะสงสัยครับ)
* NAND ในตลาดหลักๆ นั้นในตอนนี้จะแบ่งเป็น

  1. SLC ของเทพความทนทานสูงสุดครับ รองรับ P/E Cycles (เขียน/ลบ) ได้ประมาณ 90,000 – 100,000 ต่อ cell ครับ เป็นของ rare พบได้ใน SSD ราคาสูงเวอร์สูงกว่าปกติหลายเท่าครับ เดี๋ยวนี้หาไม่ค่อยมีแล้วครับ
  2. MLC ใช้กันทั่วไปตั้งแต่ระดับบ้านๆ ถึง Enterprise เลยทีเดียวครับ P/E Cycles ได้ประมาณ 3,000 – 10,000 ครับ (ขึ้นกับขนาดนะครับ ยิ่งเล็กยิ่งทนน้อย และขี้นกับยี่ห้อด้วยครับ เดี๋ยวส่วนมากจะอยู่ราวๆ 10 ปลายๆ ถึง 20 ต้นๆ nm ครับ)
  3. TLC ใช้ใน Samsung รุ่น 840 Evo และ รุ่น 840 ปกติ ครับ ส่วน 840 Pro เป็น MLC ด้านบนครับ

TLC นั้นมีข้อดี(สำหรับผู้ผลิต) คือต้นทุนต่อความจุถูกลงเยอะมาก และ(สำหรับผู้บริโภค) คือได้ขนาดความจุมากกว่าในขนาดภายนอกเท่าเดิม เป็นที่มาของ Samsung Evo msata ตัวจิ่วเดียว 1 TB เป็นต้นครับ

TLC นั้นมี P/E Cycles ประมาณ 1,000 – 3,000 ครับ

** ทั้งนี้ทั้งนั้น NAND ไม่ใช่ทั้งหมดของความทนทานครับ มีเรื่องการจัดการของ Controller และ Firmware มาเกี่ยวข้องครับ เช่น Kingston MLC เจ๊งก่อน 840/840 Evo ซะอีกครับ เพราะใช้ MLC มารตฐานต่ำ Firmware ไม่ดี หรือ OCZ (เน้นว่ารุ่นเก่า รุ่นเก่า รุ่นเก่า) พังตั้งแต่ NAND ยังไม่พังเพราะ Firmware / Controller ออกแบบมาไม่ดีครับ

หรือ Samsung 830 / 840 Pro ที่เป็น MLC เหมือนกันแต่ทนกว่าชาวบ้านหลายเท่า และที่สำคัญที่สุดความทนทานแปรผันตามขนาด SSD ด้วยครับ เพราะ P/E Cycles นั้นคือ ต่อ Cell ครับ มาว่ากันต่อที่ตัว Controller ครับ

  1. Transcend 720 ใช้ SandForce SF-2281
  2. Transcend 340 ใช้ JMICRON JMF667H
  3. Samsung 840 Pro ใช้ Samsung MDX

รายละเอียดแต่ละตัว

Samsung MDX เป็น Controller ที่ Samsung ออกแบบเอง ผลิตเอง ใช้เองไม่ขายให้ใคร (จริงๆ ชิ้นส่วนใน SSD Samsung นั้น Samsung ทำเองแทบทั้งตัวครับ ตั้งแต่ RAM, NAND, Controller และ Firmware ครับ)

Samsung MDX เป็น Controller ประสิทธิภาพสูงและแทบจะไม่โดนตำหนิเลยครับ ทั้งแรงและนิ่งครับ แรงทั้งข้อมูลบีบอัดได้ และบีบอัดไม่ได้ครับ แรงแบบไร้ข้อกังขา
SandForce SF-2281 เป็น Controller ยอดนิยมอีกตัวหนึ่งครับ แต่ชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก ผลของการใช้ SandForce SF-2281 นั้นมีทั้งออกมาเสถียร และไม่เสถียร ครับ เช่น ของ Intel ใช้ SandForce SF-2281 แต่ออกนิ่งสุดๆ แต่บางยี่ห้อทำออกมาแล้ว Freeze หรือมีปัญหากับ sata 2 อะไรก็ว่ากันไปครับ น่าจะมีผลมาจาก Firmware ครับ

SandForce SF-2281 นั้นอายุอานามหลายปีแล้วครับ

SandForce SF-2281 นั้นประสิทธิภาพดีกับข้อมูลที่บีบอัดได้ แต่ถ้าบีบอัดไม่ได้ประสิทธิภาพจะตกครับ เป็นที่มาของยี่ห้อที่ใช้ SandForce SF-2281 มักจะโฆษณาด้วย ATTO ซึ่งเป็น Benchmark ที่ไฟล์บีบอัดไว้เอา rate ไปโชว์ข้างกล่องหลอกๆ สวยๆ
JMICRON JMF667H เป็น Controller รุ่นใหม่ล่าสุด (gen ที่ 3) ที่ JMICRON ทำมาแก้มือครับ หลังจากตัวก่อนๆ ผลตอบรับไม่ค่อยดี

JMICRON JMF667H เป็น Controller ที่ไม่ค่อยมีปัญหาครับ ใช้งานปกติและเสถียรดีครับ ไม่ค่อยโดน Complain ถือว่าน่าใช้อยู่ครับ ถ้าราคาของ SSD ตัวนั้นไม่แพง

JMICRON JMF667H เป็น Controller ที่แปลกครับ แรงได้ ช้าได้ ขึ้นอยู่กับ Firmware ครับ ยกตัวอย่างในรุ่นราคาถูกอย่าง Transcend 340 เรี่ยวแรง ก็จะออกแนว Entry level ไม่แรงหวือหวา แต่พอไปใส่ใน 740 ตัวใหม่ แรงจะเทียบเท่า MDX อยู่แล้วครับ

JMICRON JMF667H เป็น Controller ที่หายากครับ ไม่ค่อยมีใครใช้ ที่เห็นตอนนี้จะอยู่ใน Transcend, Kingfast และของแปลก ของแพง อย่าง WD Black 2 HDD + SSD ไม่ใช่ SSHD นะครับ จากผู้ผลิต HDD ชื่อก้องโลกอย่าง Western Digital ครับ

หลังจากรู้จักแต่ละตัวคร่าวๆ แล้ว มาดูผลเทส Benchmark กันก่อนครับ ซึ่งตรงนี้ผมจะมี test กับ SSD เปล่าๆ ไม่มีข้อมูลนะครับ ผมว่ามันไร้ประโยชน์ครับ
ผมจะขอเทสเทสกับ SSD ที่ถูกใช้งานไปในความจุระดับใช้งานจริงครับ คือ Windows 8.1 + โปรแกรมใช้งานครบครัน รวมทั้งโปรแกรมขนาดใหญ่ทั้งหลายด้วยครับ
ผมจะใช้โปรแกรม AS SSD ในการทดสอบนะครับ เนื่องจาก ณ วันนี้น่าจะเป็นโปรแกรมทดสอบที่ดีที่สุดและน่าเชื่อถือมากที่สุดแล้วครับ และเป็นโปรแกรมที่เทสด้วยข้อมูลที่ไม่สามารถบีบอัดได้ครับ
ผลดังนี้ครับ

720-2 340-2 ssd1

จะเห็นว่าก็ตามคาดครับ ไม่มีอะไรผลิกโผ แต่คะแนนไม่ใช่ทุกอย่างครับ เป็นที่มาของชื่อเรียก Benchmark จำลองครับ จำลองก็คือจำลอง สถานการณ์ที่จำลองคือบีบเค้นสุด ในการใช้งานจริงยากนักจะได้ใช้ประสิทธิภาพถึงขั้นนี้่ครับ

เพื่อนบางท่านอาจจะว่าอยากทราบว่าความเร็วตกไหม เทียบกับตอนไม่มีข้อมูล

1397813983-d1-o 1397815776-3402-o

สรุปได้ว่าไม่ตกเลยนะครับ เพราะที่ต่างกันจะประมาณนี้อยู่แล้วครับสำหรับ AS SSD เวลาเทสคนละครั้งประกอบกับตอนข้อมูลโล่งๆ นั้นพึ่ง Secure Erase ด้วยครับ เป็นที่ชัดเจนว่าใช้งานจนความจุปกติความเร็วไม่ตกครับ

มาตรงนี้ Part สำคัญที่สุด สำหรับรีวิวผม ผมเน้นตรงนี้มาที่สุดทุกรีวิวครับ การใช้งานจริงครับ เวลา Boot เท่ากันหมดทุก SSD ครับ เป็นเรื่องตลกมากแต่จริงครับ ผมจับเวลาได้เท่ากันทั้ง 3 ตัวครับ – -”

http://www.youtube.com/watch?v=s_uaSnX2kBU

ความเร็วโดยประมาณตามวีดีโอนี้ครับ สำหรับ spec เครื่องผม เวลาเปิดโปรแกรม อันนี้ 840 Pro เร็วกว่าเสี้ยววินาทีครับ ถ้าไม่ได้ใช้ 840 Pro มาเกือบปีแบบผม น่าจะแยกไม่ออกครับ พูดตามตรงมันแทบจะไม่แตกต่างครับเวลาลง Windows ตอนทดลองลงขำๆ Samsung 840 Pro ลง 5 นาทีเสร็จ Transcend 340 และ 720 ประมาณ 10-15 นาทีครับ รวมถึงการลงโปรแกรมต่างๆ จะช้ากว่านิดหน่อย

แต่พูดตามตรงเราไม่ได้ลงโปรแกรมหรือวินโดวส์ทุกวันอยู่แล้วครับ ความลื่นไหลในการใช้งาน Photoshop / AE / PR / และโปรแกรมเฉพาะทางที่ใช้ Scratch Disk หนักๆ อื่นๆ Samsung Pro ลื่นไหลกว่านิดหน่อยครับ

ความลื่นไหลของโปรแกรมทั่วไป แทบไม่รู้สึกครับ ลึกๆ รู้สึก 840 Pro เร็วกว่าเสี้ยววินาที ไม่รู้ผมอคติหรือเปล่าครับ ไม่แน่ใจจริงๆ ครับ ความไวในการโหลดฉากเกมส์ lol พอกันหมดห่างกันไม่ 1-2 วินาทีครับ ซึ่งจัดว่าเร็วจนต้องรอคนอื่นนานมากๆ ทุกครั้ง 100% เสร็จที่ 1 ทุกครั้ง 3 ตัวครับ

สรุปการใช้จริง ไม่สามารถแยกความเร็วในการใช้งานได้ครับ สำหรับการใช้งานทั่วไป ที่ไม่ใช่งานเฉพาะทาง ใครแยกได้ต้องอคติแน่ๆ ครับ ผมเอามาเปิดเทียบกันสดๆ ยังแยกยากครับความคุ้มค่าจึงเป็นตัวที่ถูกที่สุดครับ เพราะความเร็วมันต่างกันแค่เสี้ยววินาทีจริงๆ ครับ พูดในฐานะที่เคยใช้ทั้ง 840 Pro, 840 Evo, Sandisk Extreme II, Intel 520, Plextor M5s, M5p นะครับ

เหตุผลที่จะซื้อ 840 Pro คืออยากได้ความสุด ทั้งความทนที่เป็นตำนานทนที่สุดในตลาดราคาต่ำกว่า 15,000 บาทครับ ทนแบบเอามาทำ Scratch Disk ได้ทั้งชาติประมาณนั้นครับ และอีกพวกคืออยากได้ความสุดทางใจ สุดยอดคะแนน Benchmark สุดยอดทุกทางเอาไว้ใช้กับเครื่องที่แรงสุดทุกชิ้นอยู่แล้ว เพิ่มความฟินทางใจ

เหตุผลที่จะซื้อ 340 คือด้วยราคาและประสิทธิภาพที่ได้มา คุ้มสุดแล้วครับ จ่ายถูกลง 2,000 บาท แต่ประสิทธิภาพการใช้งานทั่วไป ในการใช้งานจริงแทบไม่แตกต่างกันเลย เรียกได้ว่าเท่ากันดีกว่าครับ

เหตุผลที่จะซื้อ 720 ผมไม่แน่ใจครับ แต่ถ้าราคาดี และท่านไม่ได้เอาไปใช้กับ Sata 2 ก็น่าสนครับ

ปล.ตอนนี้มันมีรุ่นใหม่ออกแล้วนะครับ คือ 740 ครับ ที่แน่ๆ 340 นี่คุ้มกว่า Kingston มากๆ แน่นอนครับ

ทั้งหมดนี้คือประสบการณ์จากทดลองใช้งานแบบ Group Test ของทั้ง 3 ตัวครับ ต่อนะครับ อันนี้จะเป็นภาคเพิ่มเติมของ Transcend 340 และ 720 คือ Software ที่แถมมา Software ที่แถมมาถือว่ามีความสามารถเบื้องต้นครบครัน (แต่ยังไม่อาจสู้ Samsung Magician ครับ อันนั้นมันครบเวอร์ครับและมี Interface สวยกว่าของ Transcend เยอะอยู่ครับ)

z1 z2 z3 z4 z5 z6 z7 z8 z9 z10 z11

ตามภาพด้านบนเลยครับ มีความสามารถที่ควรมีครบครันครับ และที่สำคัญ Function Clone ของมันโอเคเลยครับ ไม่จำเป็นต้องลง Windows ใหม่สำหรับท่านที่ไม่มีเวลา ต่อ SSD เข้าไป Port Sata อีก Port แล้ว Clone จาก HDD หลักตัวเดิม ถอด HDD เดิมมออกเสียบ SSD แทนที่ Port HDD เดิม จบใช้ได้สมบูรณ์ ได้สัมผัสความแรงทันทีแบบไม่ต้องลงใหม่ครับ

แถมการรีวิว SSD Caching ผลคือมันก็ครึ่งๆ กลางๆ เหมือนชื่อมันครับ

1397813596-c2-o 1397813588-c1-o

มันเร็วบ้าง ไม่เร็วบ้าง แล้วแต่ว่าอะไรถูก Cache ไหม ณ วันนี้ที่ SSD ราคาถูกมากๆ ผมว่าไม่คุ้มแล้วครับ รวมถึง SSHD ด้วย เพราะ 3rd Party SSD caching software นี่ฉลาดกว่า SSHD แล้วนะครับ ยัง Caching file ได้ไม่ตรงใจเราเท่าไหร่เลยครับ กว่าจะเร็วที่ SSD ต้องมีการเปิดล่อกันหลายรอบ พออันนั้นเร็วถูกใจ เอ๊าอีกอันช้าซะอย่างนั้นครับ

ผมว่า SSHD เหมาะกับท่านที่ใช้งานไม่ซับซ้อนครับ เช่น ใช้เป็น HTPC หรือ Office PC หรือ Browsing PC แบบบ้านๆ และมีงบจำกัด อันนี้ SSHD น่าจะตอบสนองท่านได้โอเคในราคาถูกครับ

วันนี้คงต้องขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ก่อนครับ ขอบพระคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่สละเวลาเข้ามาด้วยครับ ขอบคุณครับ

โปรเจคต่อไปที่จะจัดมารีวิวคือ SSD OCZ Vector 150 ครับ เห็นว่า OCZ รุ่นหลังๆ ไม่มีอาการบ้าๆ บอๆ แบบรุ่นก่อนๆ แล้ว (ได้ยินมาเยอะมากทั้งจากบอร์ดไทยและต่างประเทศ) แถมประสิทธิภาพก็แรงระดับหัวกระดานทีเดียว คงต้องขอลองของสักหน่อยว่าจะแรงขนาดไหน น่าใช้หรือไม่อย่างไรเทียบกับราคาครับ