โดยปกติแล้วเวลาเราซื้อ Smart Phone Android ใหม่ ๆ มาใช้งาน หรือแม้แต่ทำการ Reset Factory กลับไปค่าเดิมใหม่ แล้วลงแอปฯ ไปเรื่อยๆ พอมาฉุกคิดแล้วก็เอ๊ะ !?! เราจะเลือกแอปฯ ตัวไหนไว้ป้องกันไวรัสหรือป้องกันพวกสิ่งไม่พึ่งประสงค์ที่เราไม่ต้องการดีล่ะ? แน่นอนก็ต้องนึกถึงเหล่า Antivirus สำหรับ Android แล้วเอาตัวไหนดีล่ะ? คำตอบจากผู้เขียนเท่าที่ลองมาหลายแอปฯ พบว่า Feature ของเหล่า Antivirus สำหรับ Android ไม่หนีกัน (อ่าว?) ซึ่งวันนี้ผู้เขียนอยากแนะนำแอปฯ สำหรับป้องกันและรักษาความปลอดภัยสำหรับ Android อีกตัวที่ผู้เขียนเพิ่งได้ลองนั่นคือ Trend Micro Dr.Safety ครับเป็นยังไงไปดูกัน

Trend Micro Dr.Safety for Android

ก่อนอื่นต้องขอให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือตัว Trend Micro Dr.Safety นี้ก็ทำหน้าที่เหมือนคุณหมอหรือยามเฝ้าระบบครับมีระบบ Realtime Scan ในตัวเท่าที่ผู้เขียนใช้งานร่วมกับ Asus ZenFone 5 พบว่าไม่หน่วงหรือดึงระบบเลยแม้แต่น้อยเลยครับ และไม่มีแม้แต่มี Pop-Up ขึ้นมากวนใจเหมือนแอปป้องกันไวรัสตัวอื่น

แถมด้วยตัว Trend Micro Dr.Safety เนี่ยมีตัว Scan ช่องโหว่หรือรู้รั่วของระบบ OpenSSL ด้วยครับ ซึ่งเจ้าตัว OpenSSL เป็นระบบที่ใช้เข้ารหัสเว็บและฐานข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต แล้ว OpenSSL เกิดข้อผิดพลาดได้อย่างไร? เกิดขึ้นเมื่อมีคนพบ Bug ในตัวโปรแกรมของ OpenSSL อันทำให้เกิดช่องโหว่ร้ายแรงทำให้ถูกเจาะระบบและถูก Hacker เข้ามาโจมตีได้ง่ายๆ เหมือนดังอาการหัวใจรั่วเลือดไหลเป็นทางนั่นคือสิ่งที่ได้ชื่อว่า Heartbleed ครับและถ้าเรียกตั้งชื่อภาษาไทยคงเรียกได้ว่าเป็นอาการหัวใจรั่วหรือเลือดออกตรงหัวใจกันเลย อ้างอิงข้อมูลจากเว็บ Thaicert และเอกสารอธิบายเกี่ยวกับ Heartbleed จาก หน่วยงานสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (TISA)

แล้วเราจะป้องกันกับไวใจระบบ OpenSSL นี้ได้อย่างไรอันนี้ไม่ต้องห่วงครับเพราะ ณ ปัจจุบันที่ผู้เขียนเขียนบทความรีวิวแนะนำนี้ตัว OpenSSL ที่มีปัญหาก็ได้รับการแก้ไขให้ปลอดภัยและถูกเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นที่มีความปลอดภัยมากขึ้นแล้ว แต่กระนั้นก็ยังวางใจไม่ได้เพราะแอปฯ ใน Smart Phone บางตัวอาจจะยังใช้งานระบบ OpenSSL เก่าอยู่ก็ต้องพึ่งพาหาแอปฯ ที่ไว้ใจได้มาทำการ Scan อีกอยู่ดีจริงๆ

แล้วแอปเหล่านี้ท่านผู้อ่านจะตัดสินใจดาวน์โหลดมาใช้งานติดตั้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณครับเอาล่ะอธิบายยาวไปหน่อยเกี่ยวกับ OpenSSL และอาการ Heartbleed Bug ไปดู User Interface ของตัว Trend Micro Dr.Safety ดีกว่าว่ามีหน้าตาและการใช้งานอะไรบ้าง

Download and Setup

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-31

Trend Micro Dr.Safety นั้นสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้จาก Play Store ได้โดยตรงครับแน่นอนว่าเป็นแอปฯ ฟรีไม่เสียตังค์

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-00

หรือถ้าสำหรับคนที่ชอบดาวน์โหลดโดย Login กับ Google Account ผ่านเว็บบราวส์เซอร์ใน Windows หรือ Mac สามารถไปดาวน์โหลดได้จาก Link : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.trendmicro.freetmms.gmobi เพื่อติดตั้งกับ Smart Phone (Android) ของตัวเอง

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-30

หลังจากติดตั้งเสร็จ Icon จะปรากฎบนหน้า Desktop ใน Smart Phone

User Interface

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-01

การใช้งานครั้งแรกหลังจากติดตั้งตัว Trend Micro Dr.Safety เสร็จจะมีการแจ้งเตือนให้เราทราบถึงข้อตกลงสิทธิ์ในการใช้งานกด “ยอมรับ” ครับ

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-02

เปิดใช้งานครั้งแรกก็เห็นหน้าตาเรียบง่ายแถมเมนูภาษาไทยเข้าใจง่าย (ภาษาอ้างอิงตามการตั้งค่าใน ส่วนของตั้งค่าของระบบภาษาหลักในระบบปฎิบัติการ Android ที่เราใช้งานอยู่ Feature หลักในการใช้งานต่างๆ มีดังนี้ (อธิบายตามเมนูในภาพ)

  • โปรแกรมแสกนไวรัส (Virus Scanner) : ค้นหาและกำจัดไวรัส มัลแวร์
  • แสกนความเป็นส่วนตัว (Privacy Scanner) : เป็นความสามารถในการช่วยตรวจสอบความถูกต้องรวมไปถึงช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดยทำการซ่อนข้อมูลส่วนตัวด้วยเทคโนโลยี Trend Micro Smart Protection Network ซึ่งเจ้าเทคโนโลยี Smart Protection Network นี้จะทำหน้าที่หลักๆ 3 อย่างคือ คัดกรองข้อมูล (Collection), Identification (ยืนยันตัวตน) และ Protection (ทำการปกป้องป้องกัน) ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการใช้งาน Smart Phone หรือ Tablet ได้อย่างสบายใจ (อ้างอิงข้อมูลด้านเทคนิค :> http://www.trendmicro.com.cn/cloud-content/us/pdfs/about/ds_smart-protection-network.pdf) เพราะด้วย Smart Protection Network ที่มีใน Trend Micro จะช่วยตรวจตราแอปที่มีสิ่งแปลกปลอมอย่างเช่นพวก Fake Apps ที่มีใน Play Store แล้วหลอกเอาเงินหรือทำหน้าที่เปิดช่องโหว่เพื่อทำการ Hacking หรือแม้นแต่ทำหน้าที่คล้ายๆ Ads-ware ซึ่งตัวเทคโนโลยี Smart Protection Network ของ Trend Micro จะคอยช่วยปกป้องให้เราได้และเทคโนโลยี Smart Protection Network นี้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของทาง Trend Micro เกือบทุกตัวก็ว่าได้ตั้งแต่ฝั่ง Desktop, Server แล้วนี่คงเป็นครั้งแรกที่ทาง Trend Micro จับลงมาใส่ในแอปของทางฝั่ง Smart Phone และ Tablet PC
  • Safe Surfing (ถ้าแปลเป็นภาษาไทยต้องเรียกว่า “ป้องกันภัยขณะท่องเว็บไซต์ “) : ไว้ช่วยให้เราปลอดภัยขึ้นจากการใช้งานเว็บบราวส์เซอร์ตอนที่เราเข้าเว็บไซต์ต่างๆ จากการใช้งาน Smart Phone
  • การป้องกันอุปกรณ์สูญหาย (Lost Device Protection) : ไว้ใช้เมื่อเราทำเครื่องหายหรือลืมไว้ ณ ที่ใดที่นึงซึ่งฟังค์ชั่นการทำงานนี้จะน่าใช้เมื่อเราทำเครื่องหายจริงๆ โดยจะมีคำสั่งย่อยๆ 2 รายการให้เราเลือกลบข้อมูลบางส่วนในเครื่องเช่น Call Log, History, SMS, Contact List หรือจะเลือกลบข้อมูลทั้งเครื่องเลยก็ยังได้ครับ หรือทำการสั่งล็อคตัวเครื่องไปเลยหากเกิดมีการถอด SIM Card แล้วเปลี่ยนเป็นของพวกเหล่าโจรเพื่อหวังจะใช้งานตัวเครื่องแทนเจ้าของจริง
  • การบล๊อคการโทร & ข้อความ (Call & Text Blocking) : เป็นฟีเจอร์ที่เรียกว่าต่อไปคงเป็นมาตรฐานหลักๆ ที่จะใส่มาในระบบปฎิบัติการของ Smart Phone โดยตรงเลยแต่กระนั้นอาจจะไม่ละเอียดเท่า 3rd Party แอปที่จะทำหน้าที่ช่วยให้เราเลือกป้องกันเบอร์โทรเข้าแปลกๆ หรือ SMS ขยะได้ด้วยตัวเองหรือ Unblock ภายหลังก็ได้
  • การแสกน Heartbleed (Heartbleed Scan) : ทำหน้าที่แสกนหาช่องโหว่ภายในตัวแอปฯ ที่ทำงานร่วมกับ OpenSSL หากตรวจพบจะแจ้งข้อผิดพลาดให้เราทราบและเราผู้ใช้ก็ไปถอดการติดตั้งแอปฯ ตัวนั้นออกไปก่อนได้หาตัวแสกนจริงจริงๆ
  • แอพพลิเคชั่นที่แนะนำ (Recommended Apps) : เป็นฟังค์ชั่นแบบไกด์ไลน์ที่ทำหน้าที่เลือกแอปอื่นๆ ที่ทาง Trend Micro คัดเลือกมาให้โดยระบุว่าเป็นแอปที่ปลอดภัยในการใช้งานโดยจะทำการคัดกรองแอปที่อยู่ใน Store ให้โดยอัตโนมัติโดยที่เราสามารถคลิกเข้าไปดาวน์โหลดได้โดยตรงใน Play Store ได้เลย

Feature ความสามารถการใช้งานทั้งหมดแต่ล่ะตัวจะถูกอธิบายค่อนข้างละเอียดให้เข้าใจลองตามอ่านกันต่อได้เลยครับ

โปรแกรมแสกนไวรัส (Virus Scanner)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-03

ทดสอบ Scan หาไวรัสและสิ่งแปลกปลอม ตอนใช้ครั้งแรกเลยจะพบการแจ้งเตือนจากแอปตามภาพครับ ว่าต้องการให้แสกนหรือไม่ถ้าต้องการก็กดปุ่ม “เริ่มแสกน” ได้เลย

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-04

User Interface ขณะทำการแสกนเครื่องดูแล้วก็ไม่ยุ่งยากอะไรเข้าใจง่ายดีส่วนความเร็วในการแสกนก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของตัวเครื่อง Smart Phone ที่ใช้ผู้เขียนใช้ Asus ZenFone 5 ใช้เวลา Scan ไม่นานครับประมาณ 1-3 นาที ลวกมาม่าสุกพอดี (อร่อย)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-05

เมื่อ Scan เสร็จตัวแอปฯ จะแจ้งผลการ Scan ทันทีแต่ผู้เขียนอยากติหน่อยนึงคือทาง Trend Micro ควรใส่ Feature บอกเวลารวมที่ใช้ไปในการ Scan ด้วยครับรวมไปถึง Remaining หรือ Time Left ที่ใช้เวลาในขณะแสกนว่าจะเสร็จในอีกกี่นาทีข้างหน้า เพราะผู้ใช้บางคนจะได้รู้ว่าควรไปทำอะไรก่อนดีไม่ต้องนั่งรอนาน

Safe Surfing (ถ้าแปลเป็นภาษาไทยต้องเรียกว่า “ป้องกันภัยขณะท่องเว็บไซต์ “)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-45

Safe Surfing เป็น Feature น่าสนใจในตัว Trend Micro Dr.Safety ซึ่งนอกจากจะคอยปกป้องกันไวรัสและมัลแวร์แล้ว ยังคอยช่วยตรวจสอบและป้องกันการโจมตีจากการที่เราเข้าเว็บไซต์แปลกๆ ที่ดูแล้วอันตรายได้ด้วยในตัวเลยเป็นข้อดีและทำให้ผู้ใช้งานสบายใจระดับนึง รวมไปถึงผู้ใช้เองสามารถจิ้มเข้าไปตรงและผู้ใช้สามารถกำหนดตัวเว็บที่ไม่พึ่งประสงค์ไม่ให้ใคร หรือลูกหรือหลานเข้าเล่นเว็บที่ไม่เหมาะสมผ่านการตั้งค่า “การควบคุมโดยผู้ปกครอง” ได้อีกด้วย

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-46

โดยการที่เราเข้าไปกำหนดตั้งค่าเพิ่ม Address URL ที่ต้องอยากทำการบล๊อคตัวเว็บไม่ให้สามารถใช้งานได้ ตัวอย่างในด้านจะเป็นการเตือนบอกเมื่อเข้าเว็บไซต์ที่เรากำหนดค่าไว้ครับ โดยจะมีข้อความเตือนบอกแก่ผู้ใช้ว่า “URL ที่อยู่บนรายการที่ถูกบล๊อค” เมื่อเล่นหรือใช้งานเว็บบราวซ์เซอร์ที่ไม่รับอนุญาตให้เข้าถึงได้ เป็นความสามารถนึงที่เหมือนถูกหยิบยกมาจาก Antivirus หรือ Firewall บน Windows PC ไม่ผิดเพี้ยนเลย

การป้องกันอุปกรณ์สูญหาย (Lost Device Protection)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-32

การป้องกันการศูนย์หายของเครื่องในระบบของ Trend Micro ก็ไม่ต่างจากระบบของ Google Fine My Phone ตรงที่จะช่วยให้เราสามารถทราบว่าเครื่องเราอยู่ที่ไหน

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-32

เครื่องหายสามารถ Login เพื่อเข้าไปใช้บริการจากระบบของ Trend Micro ได้ที่ https://mobilesecurity.trendmicro.com/lostdevice/ ครับ

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-35

เมื่อ Login เสร็จแล้วให้คลิกที่ Open Web Console ครับ

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-33

ในหน้า Web Console ของ Trend Micro เราจะเจอฟังค์ชั่นการทำงานต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับเราได้ซึ่งฟังค์ชั่นการทำงานต่างๆ ไม่หนีกับของทาง Google ซักเท่าไหร่เลย แต่มีเพียงการช่วยแชร์ข้อมูลไปยัง Facebook เท่านั้นเองครับส่วนการเรียกหาตัวเครื่องของเราให้กดปุ่มคำสั่ง Scream

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-37

ผลของการกดปุ่ม Scream คือ ตัวเครื่องเราจะออกเสียงเตือนดังตลอดเวลาเลยจนกว่าเราจะแตกหน้าจอเพื่อทำการหยุดร้องเตือนดั่งภาพประกอบ ก็ถือว่าเป็น Feature นึงที่ Antivirus หรือแอปประเภทรักษาความปลอดภัยสำหรับ Android OS ในปัจจุบันหลายตัวต้องมีเป็น Feature หลักๆ ไปเสียแล้ว

การบล๊อคการโทร & ข้อความ (Call & Text Blocking)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-36

ใน Feature การบล็อคการโทรและข้อความ นั้นเราสามารถกำหนดตั้งค่าได้มากมายเลยครับซึ่งช่วยให้เรารู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นอย่างเช่นการ บล็อคหมายเลขโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาแบบน่ารำคาญหรือก่อกวน (โดยเฉพาะสาวๆ น่าจะชอบไว้บล็อคเบอร์พวกโรคจิตๆ ได้) หรือแม้นกระทั้งข้อความ SMS ที่เป็นแบบ Spam หรือออกแนวโฆษณาชวนเชื่อหรือ SMS ขยะก็สามารถสั่งให้ตัว Trend Micro Dr.Safety บล๊อคได้อย่างง่ายดายจากการใช้คำสั่ง ประวัติการบล๊อคข้อความหรือจากรายการ SMS

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-27

ดั่งภาพประกอบนนี้จะเห็นว่ามีปุ่ม เปิด – ปิด นั่นคือ ถ้าคลิกสั่งเปิดการทำงานจะขึ้นตัวแถบสีส้มครับถ้ามี SMS จากเจ้าเดิมซ้ำๆ ที่มีหมายเลขหรือข้อความใกล้เคียงกันตัว Trend Micro Dr.Safety จะทำการกันออกไปให้เองอัตโนมัติเลย

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-28

ส่วนคำสั่งอื่นๆ ในการใช้บล็อคการโทรและข้อความ เราสามารถเลือกได้เรียกได้ว่า Trend Micro Dr.Safety ให้มาครบครันสำหรับงานป้องกันและความปลอดภัยแก่ Smart Phone ของคุณผู้อ่านได้เป็นอย่างดีเลย

การแสกน Heartbleed (Heartbleed Scan)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-38

เป็น Feature ช่วยในการ Scan รูรั่วของระบบ Android หรือแอปฯ ใน Android ที่ใช้ระบบการเข้ารหัสฐานข้อมูล Open SSL แต่ปัจจุบันที่กำลังเขียนนี้ผู้ผลิตแอปฯ หลายๆ เจ้าได้ย้ายระบบ Open SSL ไปใช้ตัวอื่นกันเยอะขึ้นแทนแล้ว ดังนั้นสำหรับบางคนที่ใช้ลองแสกนดูใน Smart Phone Android เวอร์ชั่นใหม่ๆ อาจจะไม่พบข้อผิดพลาดนี้อีกต่อไป

แอพพลิเคชั่นที่แนะนำ (Recommended Apps)

iReviewInTh_TrendMicro_Dr-Safety-18

เป็น Feature ที่เสริมเข้ามาคล้ายๆ กับระบบ Store แต่เหมือนเป็นแบบแนวแอปไกด์ไลน์มากกว่ากล่าวคือตัว Recommended Apps นั้นเป็นเหมือนแหล่งดาวน์โหลดแอปและเกมที่ทาง Trend Micro ยืนยันแล้วว่าปลอดภัยหายห่วงหรือเป็นการร่วมมือกับผู้ผลิตแอปที่เข้าร่วมโครงการของ Trend Micro มาในเชิง Recommended Apps หรือแอปน่าใช้งานนั่นเองครับ

ข้อดี

  1. Feature เยอะเกินคำว่า “ฟรี”
  2. ใช้งานง่าย
  3. เป็นแอปฯ มีความน่าเชื่อถือสูง

ข้อเสีย

  1. ไม่มีคู่มือ (คำแนะนำ) การใช้งานเป็นภาษาไทย
  2. ระบบ Scan Heart Bleed เป็นอะไรที่เก่าไปแล้ว
  3. การป้องกันอุปกรณ์สูญหาย (Lost Device Protection) ยังทำได้ไม่น่าสนใจนัก

สรุป

หากคุณกำลังมองหาแอปฯ สำหรับไว้ป้องกัน Trojan หรือ Malware บนระบบปฎิบัติการ Android อยู่ในขณะนี้แล้วล่ะก็ ขอบอกเลยว่าตัว Trend Micro Dr.Safety ค่อนข้างน่าใช้งานและทำออกมาได้ดีถึงจะไม่ดีที่สุดก็เถอะ แต่ก็มีความน่าเชื่อถือมากจากผู้ผลิต Antivirus และระบบ Security ระดับโลกชื่อดังอย่าง Trend Micro ซึ่งทาง Trend Micro ทำแอปตัว Safety นี้มาให้เราใช้งานกันฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงินซื้อแถมใส่ Feature ที่เรียกได้ว่าเยอะมากเกินราคากับคำว่า “ฟรี”